RMUTP

แพลตฟอร์มการเรียนรู้

นวัตกรรมชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้


RMUTP community innovation learning platforms (RMUTP CILP)

หลักสูตรวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

หลักสูตรการสร้างวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจจะทำการแบ่งกิจกรรมออกเป็นสองกิจกรรมหลักประกอบด้วย 1. ประเภทและชนิดของวัตถุดิบของอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 2.การสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจชนิดและประเภทของวัตถุดิบ สามารถสร้างสูตรอาหารโดยประยุกต์สูตรอาหารให้เหมาะสมกับบริบทที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ประเภทและชนิดของวัตถุดิบของอาหารสัตว์

หลักสูตรที่ 1 หลักการอบแห้ง การตากวัตถุดิบ และการจัดเรียงวัตถุดิบก่อนการอบ

คำอธิบายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อเข้าใจถึง พื้นฐานปัจจัยที่สำคัญของวัตถุดิบในการทำอาหาร
วิธีการพัฒนา 1. สอนอธิบายประเภทและชนิดของวัตถุดิบ
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ 1. เข้าใจถึง ประเภทและชนิดของวัตถุดิบ
วิธีวัดผล 1. สอบถามความเข้าใจพื้นฐานประเภทและชนิดของวัตถุดิบ
ระยะเวลา 120 นาที
เครื่องมือ อุปกรณ์ 1. คู่มือนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

กิจกรรมที่ 2 การสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

หลักสูตรที่ 1 หลักการอบแห้ง การตากวัตถุดิบ และการจัดเรียงวัตถุดิบก่อนการอบ

คำอธิบายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อเข้าใจถึง พื้นฐานปัจจัยที่สำคัญของวัตถุดิบในการทำอาหาร
วิธีการพัฒนา 1. สอนอธิบายประเภทและชนิดของวัตถุดิบ
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ 1. เข้าใจถึง ประเภทและชนิดของวัตถุดิบ
วิธีวัดผล 1. สอบถามความเข้าใจพื้นฐานประเภทและชนิดของวัตถุดิบ
ระยะเวลา 120 นาที
เครื่องมือ อุปกรณ์ 1. คู่มือนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
พลังงาน

ปลาหรือสัตว์น้ำต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต สืบพันธุ์และกิจกรรมต่างๆ พลังงานได้มาจากการสันดาปอาหาร โดยเรียกขบวนการทางชีวเคมีของการใช้พลังงานว่า Metabolism อัตราการใช้พลังงาน (Metabolic rate) ของปลา หรือสัตว์น้ำขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆดังนี้

  1. ขนาดของสัตว์น้ำหรือปลา ปลาขนาดเล็กต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต มากกว่าปลาโตเต็มวัย โดยสัตว์น้ำวัยอ่อนต้องการพลังงานสูงกว่าสัตว์น้ำที่โตเต็มวัยเพราะพื้นที่สัมผัสน้ำของสัตว์น้ำวัยอ่อนมีน้อยกว่าสัตว์น้ำที่โตแล้ว
  2. กิจกรรมของสรีระ ความต้องการพลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่หรือว่ายน้ำ ในการต้านทานกระแสน้ำ และทดแทนพลังงานที่สูญเสียไปจากการตกใจ ปริมาณพลังงานต้องมีเพียงพอใน กิจกรรมนี้ก่อน แล้วจึงนําพลังงานที่ เหลือไปใช้ในการเจรญเติบโต
  3. อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในความต้องการพลังงาน ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น ต้องการพลังงานเพื่อรักษาหรือควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ อุณหภูมิในร่างกายขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของน้ำเป็นหลัก เมื่ออุณหภูมิของน้ำต่ำลง ปลาก็ลดกิจกรรมของตัวเองด้วย เช่น ลดการกิน อาหาร เกิดอาการเฉื่อย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นปลามีอาการว่องไวขึ้นด้วย
  4. ความเครียด ปลาใช้พลังงานเพื่อต่อต้านความเครียด ซึ่งมาจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ความหนาแน่น การเคลื่อนย้าย อาหารคุณภาพต่ำ น้ำเสีย ความเค็ม ปริมาณออกซิเจน คาร์บอนไดออกซด์ที่ละลายน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่าง และอื่นๆ

แหล่งพลังงานของปลาหรือสัตว์น้ำคือโปรตีนและไขมันเป็นหลัก แตกต่างจาก สัตว์เลือดอุ่นที่ใช้ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก เนื่องจากปลามีประสิทธิภาพในการย่อย คาร์โบไฮเดรตค่อนข้างต่ำ

สัตว์น้ำใช้พลังงานประมาณ 70% เพื่อกิจกรรมต่างๆ และการเจริญเติบโต ส่วนที่เหลือ 30% สูญเสียไปกับการขับถ่าย ความต้องการพลังงาน หรือ Metabolizable Energy Requirement (ME) คือพลังงานที่สัตว์น้ำได้จากอาหารลบออกด้วยพลังงานที่สูญเสียจากการขับถ่าย ของเสียออกจากร่างกายทั้งที่เหงือก และที่ช่องขับถ่าย ME ถูกนําไปใช้ในขบวนการเมตาบอลิซึมของ สัตว์น้ำ ความต้องการพลังงานจากอาหารเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต 1 กก. ในปลาแต่ละชนิดมีค่า ใกล้เคียงกันคือ 4,000 kcl ดังนั้นในการสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำต้องคำนึงถึงพลังงานที่สัตว์น้ำได้รับ ด้วย (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534 และ นฤมล, 2549)

สารอาหารที่สำคัญ

อาหารสัตว์น้ำต้องมีโภชนาการ หรือ Nutrition คือสิ่งที่ทํานุบํารุงร่างกายเพื่อให้ บรรลุถึงจุดที่ต้องการเพื่อทำกิจกรรม เซลล์ทำการแปลงวัตถุต่างๆมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในอดีต เกษตรกรไม่เข้าใจถึงโภชนาการ แต่ปัจจุบันมีการเห็นคุณค่าทางโภชนาการ เพราะเห็นถึงประโยชน์ เช่น การป้องกันโรคที่ เกิดจากการขาดธาตุอาหารจําเป็น ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่มีภูมิต้านทานโรค หรือมีสารอาหารบางอย่างในร่างกายมากเกินไป ได้แก่ ไขมัน เป็นต้น สารอาหารสำคัญที่มีความ จําเป็นต่อสัตว์น้ำ ได้แก่คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ

         1. คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แป้ง น้ำตาล ใยพืช (ตารางที่ 1) เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ สิ่งมีชีวิต (แต่น้อยกว่าไขมัน) ที่มีราคาถูกที่สุดหาง่าย เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด พบมาก ในพืชเกิดขึ้นจากขบวนการสังเคราะห์แสง พลังงานเหล่านี้ได้สะสมอยู่ในพืช เมื่อสัตว์น้ำกินเข้าไปก็ทำ ให้ได้พลังงานสำหรับใช้ในการดํารงชีวิตอยู่ และสามารถแปรรูปไปเป็นไขมันเพื่อเก็บเป็นพลังงาน สํารอง คาร์โบไฮเดรตให้ค่าพลังงานความร้อนเฉลี่ย 2.5 กิโลแคลอรี่/กรัม ปลาย่อยและดูดซึมน้ำตาล ได้ดีกว่าแป้ง แต่ปลาใช้ประโยชน์จากแป้งได้ดีกว่าน้ำตาล ส่วนใยพืชหรอเซลซูโลส ปลาย่อยได้น้อยมาก หรือไม่ได้เลย ดังนั้นแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีความสําคัญต่อการนํามาทําอาหาร ปลามากกว่าน้ำตาล และเซลลูโลส โดยทั่วๆไปปลาย่อยแป้งได้ 25-70% แต่ผันแปรไปตามชนิดสัตว์น้ำ ซึ่งสัตว์น้ำมี ความสามารถในการย่อยคาร์โบไฮเดรตได้แตกต่างกัน เช่น ปลาRainbow trout ย่อยกลูโคส ได้ร้อย ละ 90 แต่ย่อยแป้งดิบได้แค่ร้อยละ 20 เมื่อทำแป้งให้สุกสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยได้สูงขึ้น ประมาณ 25-30% (ตารางท ี่ 2) ปลาทุกชนิดมีน้ำย่อยแป้งอยู่จํากัด สามารถย่อยแป้งได้แค่จำนวน หนึ่ง ดังนั้นถ้าเพิ่มปริมาณแป้งลงไปในอาหารส่งผลให้ประสิทธิภาพในการย่อยแป้งลดลง เช่นปลากินเนื้อย่อยแป้งในอาหารที่มีแป้ง 20 % ได้ถึง 68% แต่ถ้าเพิ่มแป้งในอาหารเป็น 60% ปลากลับย่อย แป้งได้เพียง 26% (ลดลงจากเดิม 40%) ถึงแม้ปลาไม่สามารถย่อยเซลลูโลส แต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด การขับถ่าย โดยใยพืชที่มีปริมาณไม่เกิน 8% ช่วยทำให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านทางเดินอาหารช้าลงทำให้ มีเวลาดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น ปลาบางชนิดมีแบคทีเรียช่วยย่อยเซลลูโลส ในความต้องการ คาร์โบไฮเดรตของสัตว์น้ำ เช่นใน ปลาcatfish ควรมีคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของ อาหารทั้งหมดเพราะถ้ามากเกินไปทำให้เกดการสะสมไกลโคเจนที่ตับ ทำให้ปลาเป็นโรคตับ เป็นโรคอ้วน ปลาที่กินทั้งพืช และสัตว์ หรือ omnivore เช่นปลาสวายสามารถผสมแป้งสุกได้ถึงร้อยละ 60 ของอาหารทั้งหมด ปลานิลต้องการคาร์โบไฮเดรตถึงร้อยละ 40 ความจำเป็นต้องใส่คาร์โบไฮเดรต อีก ประการคือเพื่อประสานยึดองค์ประกอบของอาหารหรือบายด์เดอร์เข้าด้วยกันในรูปเม็ด หรือก้อน ทำให้การละลายของอาหารในน้ำช้าลง ลดการสูญเสียคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ แป้งเหนียว สารเหนียว และยังช่วยทำให้อาหารลอยน้ำ เช่นอาหารปลาดุก จำเป็นต้องมีแป้ง 40-50% แต่ถ้าใส่มากเกินไปทำ ให้คุณค่าของอาหารลดลง (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534 และ นฤมล, 2549)

ตารางที่ 2.1 แหล่งคาร์โบไฮเดรตในธรรมชาติ
คาร์โบไฮเดรด แหล่งที่พบ
น้ำตาล น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำนมสัตว์ น้ำตาลจากอ้อย น้ำตาลจากสับปะรด น้ำตาลจากการสลายแป้ง น้ำตาลจากนม
แป้ง เมล็ดพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวเหนีย หัวพืช เช่น มันสำปะหลัง เผือก มันแกว
ใยพืช พืชผักทุกชนิด
ที่มา: กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ (2534)
ตารางที่ 2.1 แหล่งคาร์โบไฮเดรตในธรรมชาติ
แป้ง % การย่อยได้
ปลากินทั้งพืชและสัตว์ ปลากินเนื้อ
แป้งข้าวโพด (ดิบ) 26
แป้งข้าวโพด (สุก) 59
แป้ง (ดิบ) 38
แป้ง (สุก) 69
ที่มา: กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ (2534)

          2. โปรตีน หรือ body builder แหล่งที่มาได้แก่ สัตว์พืช และสาหร่าย เป็นอินทรีย์ สารที่มีมากที่สุดในร่างกายของสัตว์น้ำ สัตว์น้ำที่มีชีวิตต้องการโปรตีนตลอดเวลา เพื่อไปสร้างการ เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างฮอร์โมน เอ็นไซม์ หายใจ ให้พลังงาน และองค์ประกอบที่ เกี่ยวกับการสืบพันธุ์และขยายพันธุ์โดยสัตว์น้ำวัยอ่อนต้องการโปรตีนสูงกว่าสัตว์น้ำท ี่โตเต็มวัยเพราะ พื้นที่สัมผัสน้ำของสัตว์น้ำวัยอ่อนมีน้อยกว่าสัตว์น้ำที่โตแล้ว ทำให้ต้องใช้พลังงานต้านแรงผลักดันของ น้ำมากกว่า (ตารางที่ 3) ปลาหรือสัตว์น้ำต้องการโปรตีนมากกว่าสัตว์บก (ประมาณร้อยละ  30-50 ในอาหาร) โดยอาหารปลาcatfish มีโปรตีน 25-40% คุณภาพของโปรตีนสูงขึ้นเมื่อใช้โปรตีนจากอาหาร หลายๆแหล่งทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โปรตีนประกอบไปด้วยกรดอะมิโนมากกว่า 24 ชนิด แต่ที่สัตว์น้ำต้องการมีเพียง 19 ชนิด โดยมีกรดอะมิโนที่มีความจำเป็น (essential amino acids) ต่อปลา 10 ชนิด ได้แก่ Arginine Histidine Isoleucine Leucine Methionine Phenylalanine Threonine Tryptophan Lysine และ Valine (ตารางที่ 4) กรดอะมิโนทั้ง 10 ตัวนี้เปรียบเสมือนเสาค้ำจุนบ้าน หรือร่างกายสัตว์น้ำ นอกจากสัตว์น้ำต้องการโปรตีนท ี่ ระดับแตกต่างกันตามชนิด และวัยของสัตว์น้ำ แล้ว ยังต้องการกรดอะมิโนที่จําเป็นในปริมาณที่ต่างกันอีกด้วย ปลาที่ได้รับกรดอะมิโนที่จําเป็นไม่ ครบถ้วนทำให้ปลาเจริญเติบโตช้า รูปร่างเปลี่ยนไป เช่นถ้าขาด Tryptophan ทําให้กระดูกสันหลังของปลาคดงอส่งผลให้ปลามีรูปร่างคดงอ (scolosisและ lordosis) ถ้าขาดไลซีนปลามอาการครีบหลัง และหางเป็นแผลขาดกร่อน มีอัตราการตายสูง ขาดMethionine ปลามีอาการตาเป็นต้อ อาหารที่มี Valine มากเกินไปทําให้ไปยับยั้งการเจริญเติบโต และเกิดการเป็นพิษของกรดอะมิโนเป็นต้น โปรตีน ในสัตว์มีกรดอะมิโนที่จําเป็นครบทุกตัวแต่โปรตีนในพืชมีกรดอะมิโนที่จําเป็นครบแต่ปริมาณบางตัวไม่ มากพอ ส่วนโปรตีนในสาหร่ายเช่นสาหร่ายเกลียวทองมีกรดอะมิโนที่จําเป็นครบทุกตัวเช่นกัน ความ ต้องการโปรตีนของสัตว์น้ำหรือปลาเป็นปัจจัยหลักในการสร้างสูตรอาหารของสัตว์น้ำ (ตารางที่ 5)

ตารางที่ 2.3 ระดับโปรตีนในอาหารกุ้งทะเลที่ขนาดต่างๆ
ขนาดของกุ้ง (กรัม) ระดับโปรตีนในอาหาร (%)
0.002 - 0.25 50
0.25 - 1.0 45
1.03 - 3.0 35
ที่มา Akiyama et al. (1991)
ตารางที่ 2.4 ค่าเฉลี่ยความต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นของสัตว์น้ำทั่วไป
กรดอะมิโนที่จำเป็น ปริมาณที่สัตว์น้ำต้องการ (% ของโปรตีน)
Arginine 4.5
Histidine 1.9
Isoleucine 2.8
Leucine 4.0
Methionine 3.6
Phenylalanine 6.3
Threonine 3.1
Tryptophan 0.7
Valine 3.5
Lysine 5.3
ตารางที่ 2.5 ความต้องการโปรตีนในอาหารของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
ชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณที่สัตว์น้ำต้องการ (% ของโปรตีน)
ปลานิล 34±8
ปลาสวาย 27±2
ปลาดุกลูกผสม 35±5
ปลาช่อน 48±5
ปลาไน 35±2
ปลาดุกด้าน 30±2
ปลากะพงขาว 48±2
กุ้งก้ามกราม 34±5
กุ้งกุลาดำ 43±7

ปัจจัยสำคัญที่ต้องนํามาพิจารณาคือความสามารถในการย่อย และดูดซึมอาหารของสัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงค่าสัมประสิทธิ์ การย่อยสารอาหารของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ส่วนมากสัตว์น้ำสามารถย่อยโปรตีนจาก สัตว์ได้ดีกว่าจากพืช (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534, วิมล, 2537 และ นฤมล, 2549)

                   3. ลิปิด หรือไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงสุด ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 8-9 กิโลแคลลอรี่ เป็นหนึ่งใน 3 ของสารอาหารหลักที่จําเป็นของอาหารสัตว์น้ำ (โปรตีน ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรต)    มีความสําคัญรองจากโปรตีนได้แก่ ไขมัน ขี้ผึ้ง น้ำมัน phospholipid glycolipid และsterols โดยไขมันเป็นของแข็ง ส่วนน้ำมันเป็นของเหลวที่อุณหภูมิปกติแหล่งที่มาได้แก่ พืช และ สัตว์ ไขมันจากพืชอยู่ในรูปของเหลว เช่นน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ไขมันในสัตว์ส่วนใหญ่อยู่ใน รูปของแข็ง ไขมันในสัตว์มีคอเลสเตอรอล แต่ของพืชไม่มี ไขมันไม่ละลายน้ำ ไขมันมีอยู่ในทุกเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ เยื่อหุ้ม      หัวใจ เยื่อหุ้มประสาท ป้องกันไม่ให้ฮอร์โมน และวิตามินซึมออกไปนอกเซลล์ ทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นตัวกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะ ภายใน ให้พลงงาน ช่วยละลาย และดูดซึมวิตามินบางชนิดได้แก่ เอ ดีอีเค          ให้กรดไขมันที่จําเป็นต่อ ร่างกาย เป็นตัวพาลิปิดอื่นๆไปที่ตับ และส่วนต่างๆของร่างกาย ไขมันในร่างกายของสัตว์แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไขมันคงตัวหรือ Constant fat มีอยู่ในปริมาณที่น้อยแต่ต้องมีตลอดไป เมื่อสัตว์ขาด อาหารร่างกายจะไม่ดึงไขมันตัวนี้ออกมาใช้และ ไขมันไม่คงตัว หรือ variable fat มีในร่างกายของสัตว์น้ำ เป็นพลังงานสํารอง เมื่อขาดแคลนอาหารไขมันส่วนนี้ จะถูกดึงมาใช้ กรดไขมัน แบ่งเป็น กรดไขมันที่ อิ่มตัว (ไขมันสตว์ มะพร้าว และปาล์ม) มีจุดหลอมเหลวสูงมากกว่า 60 องศาเซลเซียส โดยแข็งตัวที่ อุณหภูมิห้อง ถ้าไขมันท ี่ปลากินเข้าไปในร่างกายมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิในตัวปลาทำให้ไขมัน อยู่ในรูปของแข็งเป็นก้อนที่ลําไส้ เกิดการย่อยท ี่ไม่สมบูรณ์ ดูดซึมได้ช้า และกรดไขมันท ี่ไม่อิ่มตัว (น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา และน้ำมันตับปลาหมึก) จุดหลอมเหลวต่ำ อยู่ในสภาพเป็นของเหลวท ี่ อุณหภูมิห้อง มีความสําคัญเนื่องจากเป็นกรดไขมันที่จําเป็น (essential fatty acids หรือ EFA) เพราะสัตว์น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น เป็นต้นกำเนิดของ prostaglandin หรือสารที่ ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ มดลูก เร่งการตกไข่ ควบคุมการ หลั่งฮอร์โมนในร่างกาย และความดันโลหิต ในกรดไขมันท ี่ไม่อิ่มตัวมีกรดไขมันที่จําเป็น (เพราะสัตว์น้ำ ไม่สามารถสร้างเอง) ได้แก่ lenoleic (w6โอเมก้า 6) และlenolenic (w3โอเมก้า 3) โดยสัตว์น้ำได้นํา กรดไขมันทั้ง 2 ตัวไปเพื่อไปสร้าง arachidonic acid ซึ่งเป็นองค์ประกอบผนังเซลล์ในร่างกาย ได้แก่ สมอง กล้ามเนื้อ และตับ ปลาที่ขาดกรดไขมันที่จำเป็นทำให้เจริญเติบโตช้า เซลล์ครีบหางตาย ตับซีด มีไขมันมาก ผิวขาวบรอนซ์ ท้องบวม เม็ดเลือดแดงแตก หายใจเร็วขึ้นกว่าปกติปลานิลต้องการ n-6 fatty acids (18:2n6โอเมก้า 7) ที่ร้อยละ 0.5 ( Lovell, 1998) กุ้งก้ามกรามต้องการ n-6 fatty acids ส่วนกุ้งทะเล Penaeus spp.ต้องการกรดไขมันดังตารางท ี่ 6 ไขมันจากสัตว์มีw3 หรือโอเมก้า 3 สูง ส่วนไขมันจากพืชมีw6 หรือโอเมก้า 6 สูง นอกจากกรดไขมันยังมีลิปิดที่สำคัญโดยเฉพาะสัตว์น้ำ ที่มีเปลือก (ตารางที่ 6) นั่นคอคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็น sterols ที่พบในสัตว์เป็นสารจําเป็นในการสร้าง น้ำดีฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนลอกคราบ จําเป็นต่อการสร้างเซลล์ใหม่ และphospholipid ที่เป็น องค์ประกอบของผนังเซลล์และช่วยลําเลียงกรดไขมันไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ปริมาณไขมันใน อาหารควรสัมพันธ์กับปริมาณโปรตีน และสารอาหารอื่นๆ ชนิดสัตว์น้ำ ลักษณะของอาหาร (แห้ง หรือเปียก) การย่อยได้ของไขมัน และอุณหภูมิของน้ำ ระดับไขมันที่ใส่ในอาหารสัตว์น้ำ (ตารางที่ 7) ได้แก่ ปลานิลและปลาดุกไม่เกิน 10% กุ้งควรต่ำกว่า 10% ถ้าใส่ไขมันสูงเกินไปทำให้เกิดออกซิไดส์ ส่งผลให้เกิดการหืน ดังนั้นอาหารที่มีไขมันสูงต้องใส่สารกันหืน เก็บในที่มืด และมีอุณหภูมิต่ำๆ (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534 และ นฤมล, 2549)

ตารางที่ 2.6 ระดับกรดไขมันที่เหมาะสมในอาหาร
กรดไขมัน ระดับความต้องการ (%)
Linolenic acid (18:3n3) 0.3
Linoleic acid (18:2n6) 0.4
Eicosapentaenoic (20:5n3) 0.4
Decosahexaenoic acid (22:6n3) 0.4
ตารางที่ 2.7 ความต้องการลิปิดในรูปแบบต่างๆ (% อาหาร)
สัตว์น้ำ กรดไขมันที่จำเป็น phospholipid คอเลสเตอรอล
ปลานิล 1% w6 (2%น้ำมันพืช) 0.05%
ปลาน้ำจืดทั่วๆไป 1% w3+1% w6 (4%น้ำมันพืช) 0.05%
ปลาทะเล และน้ำกร่อย 1% w3 (4%น้ำมันปลา) 3%
กุ้งน้ำจืด 0.75% w3 (3%น้ำมันปลา) - 0.5%(3%ปลาหมึก+5%หัวกุ้งป่น)
กุ้งทะเล 1% w3 (4%น้ำมันปลา) 3% 0.5%(3%ปลาหมึก+5%หัวกุ้งป่น)
ที่มา :วิมล (2537)
  1. วิตามิน เป็นสารที่สัตว์น้ำต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ขาดไม่ได้ มาจาก vital+amine หมายถึงสารประกอบที่สำคัญเท่าชีวิต สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจาก การสังเคราะห์วิตามินที่ ความสำคัญต่อสัตว์น้ำมีประมาณ 15 ชนิด ดังนี้

 ก. กลุ่มทละลายในไขมัน น้ำมัน เนย อีเทอร์และแอลกอฮอร์มี 4 วิตามินดังนี้

– วิตามินเอ ช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น ช่วยเร่งการเจริญเติบโต รักษาเยื่อบุระบบ ต่างๆให้แข็งแรง ควบคุมการสร้างเซลล์ใหม่ และกระดูกให้เป็นไปอย่างปกติ สัตว์ทุกชนิดต้องการ วิตามินเอ ในพืชไม่มีวิตามินเอ แต่จะแฝงอยู่ในรูปคาโรตีนมีสีเหลือง หรือ pro vitamin A ซึ่งร่างกาย สัตว์สามารถเปลี่ยนให้เป็นวิตามินเอ หรือ active vitamin A ได้ แต่ปลาไม่สามารถเปลี่ยนได้ เนื่องจากขาดน้ำย่อยที่แตกโมเลกุลของคาโรตีนไปเป็นวิตามินเอ ถ้าขาดวิตามินเอ ปลาตาขุ่น ตาบวม ปูด และอักเสบ การสร้างกระดูกอ่อน และกระดูกเป็นไปอย่างไม่ปกติทำให้กระพุ้งแก้มหงิกงอ เจริญเติบโตช้า แหล่งวิตามินเอพบในผัก ผลไม้สีเขียว และสีเหลือง น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ถ้า ได้รับวิตามินเอมากเกินไป เกิดการสะสมในร่างกายเกิดโทษ (เพราะร่างกายไม่สามรถขับออกมาได้ เหมือนวิตามินท ี่ละลายในน้ำ) ได้แก่ตับโต ม้ามโต

– วิตามินดีร่างกายสามารถสร้างได้โดยปฎิกริยากับแสงแดดต่อร่างกาย วิตามินดีมี บทบาทในการใช้ประโยชน์ของแคลเซียม และฟอสฟอรัส ทำหน้าที่ดูดซึมฟอสฟอรัส และกรดอะมิโน ที่อยู่ในไตกลับคืนมา มีส่วนร่วมในการสร้างฟัน มีส่วนในการเจริญของกระดูก วิตามินดีมีหลาย รูปแบบ แต่ที่สำคัญคือวิตามินD2 และวิตามินD3 ถ้าขาดวิตามินดีทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ของแคลเซียม และฟอสฟอรัสได้เต็มที่ อัตรารอดตายลดลง แหล่งที่มีวิตามินดี คือไข่ไก่ น้ำมันตับปลา ตับ ยีสต์ และอาหารที่นำมาผึ่งแดด ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป (เพราะร่างกายไม่สามรถขับออกมาได้ เหมือนวิตามินท ี่ละลายในน้ำ) วิตามินที่ เหลือใช้เป็นพิษต่อตับ ทำให้ตับพิการ การเจริญเติบโตชะงัก ทำให้กระดูกโพรง

– วิตามินอีเป็นวิตามินที่ทนต่อความร้อน มีบทบาทป้องกันสารที่มี double bond ในกล้ามเนื้อเรียบไม่ให้ถูก oxidize ไป (ป้องกันการหืน) หรือเป็น antioxidant ช่วยรักษาคุณสมบัติ ในการให้สารซึมผ่านเซลล์ของเส้นเลือดฝอย และหัวใจ ควบคุมกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้ปกติช่วย ในการฟักไข่ของปลา ถ้าขาดวิตามินอีทำให้เจริญเติบโตช้า โลหิตจาง ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติหรือเป็น หมัน ตัวงอ อัตราการตายสูง ตับเหลือง ตับมีไขมันมาก เม็ดเลือดเปราะ ตกเลือดท ี่ไต ท้องบวม ตัวสี ซีด ตาโปน ลำตัวและครีบมีสีซีด กระพุ้งเหงือกบิดเบี้ยว แหล่งวิตามินอีมีในพืชสีเขยวี และในเมล็ด พืช จมูกข้าวสาลี น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด รำละเอียด ถ้าได้รับวิตามินอีมากเกินไป (เพราะ ร่างกายไม่สามรถขับออกมาได้เหมือนวิตามินที่ละลายในน้ำ) ทำให้ตับพิการ เบื่ออาหาร สีลำตัวเข้ม ตาย

– วิตามินเค จัดเป็นวิตามินท ี่เป็นส่วนประกอบเอนไซม์ที่ทำให้เลือดจับตัวแข็งเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกไม่หยุด ถ้าขาดวิตามินเคมีผลทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง 3-5 เท่า แผลหายช้า ท้องบวม เลือดคั่งตามเหงือก และตา โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่มีเส้นเลือดฝอยไปหล่อเลี้ยง ถ้าปลาขาดวิตามินเค นานๆทำให้เป็นโรคโลหิตจาง แหล่งที่มีวิตามินเค ได้แก่ ใบพืชสด ปลาป่น เนื้อป่น และตับ

ข. กลุ่มที่ละลายในน้ำ พบในพืช ผักผลไม้ยีสต์มี 11 วิตามิน ดังนี้

– วิตามินบี1 หรือไทอามีน (Thiamine) ละลายได้ทั้งในน้ำ และแอลกอฮอล์ มีกลิ่น และรส คงสภาพได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดอ่อน แต่สลายตัวได้ง่ายในสภาพเป็นกลางหรือด่าง เป็น ส่วนประกอบของ coenzyme a ร่วมในปฎิกริยาสันดาปคาร์โบไฮเดรตให้สมบูรณ์ถ้าขาดวิตามินบี1 ทำให้ปฎิกริยาไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการคั่งค้างของกรดไพรูอวิค และกรดแลคติกในสมองและ กล้ามเนื้อ การใช้คาร์โบไฮเดรตไม่ได้ผล มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อชัก ทำให้ปลาตกใจง่าย เสียการทรงตัวว่ายหมุนไปมา ที่ฐานครีบมีรอยช้ำเลือด ท้องบวม ร่างกาย เจริญเติบโตช้า สมองไม่พัฒนา แหล่งวิตามินบี1 พบในยีสต์ เมล็ดพืชที่ปุ่มงอก รำข้าว ปลาป่น ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ได้ ข้อควรระวังอย่าผสมวิตามินบี1ร่วมกับเนื้อปลาดิบ เพราะทำให้ลด ประสิทธิภาพของวิตามินบี 1

– วิตามินบี2 หรือไรโบเฟลวิน (Riboflavin) เป็นผลึกสีเหลือง ละลายทั้งในน้ำ แอลกอฮอล์ และในด่าง สลายตัวได้ง่ายในสภาพที่เป็นด่าง และถูกแสงแดด ทนความร้อนได้ดีใน สภาพแห้ง และทนต่อการออกซิไดซ์ในสภาพที่เป็นกรดหรือเป็นกลาง ร่วมในปฎิกริยาการหายใจของ เนื้อเยื่อที่ เส้นเลือดไปเลี้ยงน้อย เป็นสารร่วมสร้างพลังงานในขบวนการชีวเคมีต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบของ enzyme ช่วยในการสลายตัวของน้ำตาล ช่วยร่างกายในการใช้ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้แลกเปลี่ยนออกซิเจนในเนื้อเยื่อที่สำคัญ เช่น ตา ทำงาน ร่วมกับวิตามินบี6 ในการเปลี่ยนทริบโตแฟนไปเป็นไนอาซีน หรือ nicotinic acid หรือวิตามินบี3 ซึ่ง ใช้ในลิปิด metabolism ถ้าขาดวิตามินบี2 ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติเม็ดเลือด แดงเสื่อมสมรรถภาพ เบื่ออาหาร ม่านตาผิดปกติเลนซ์ตาขุ่น โรคกลัวแสงตาแดงช้ำ ตาต้อ ตาบอด ปอด หัวใจช้ำ ไตพิการ หัวทู่ ตัวสั้น ป้อม ผิวคล้ำ หนวดกุด เหงือกซีด ตับซีด ตกเลือดตามลำตัวและครีบ อัตรารอดตายต่ำ แหล่งวิตามินบี2 ได้แก่ นม ตับ หัวใจ ยีสต์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ไก่ ปลาป่น กุ้งป่น และมูลสัตว์ ข้อควรระวังควรป้องกันไม่ให้โดนแสงแดด

– วิตามินบี3 หรือไนอาซีน (nicotinic acid) เป็นผลึกสีขาว ละลายได้ทั้งในน้ำ และแอลกอฮอล์ ทนความร้อนทั้งในสภาพที่เป็นกรด และด่าง เป็นตัวร่วมในปฏิกริยาถ่ายอีเล็คตรอน ช่วยเผาผลาญไขมันและโปรตีนในร่างกาย ทำงานร่วมในขบวนการทางชีวเคมี มีองค์ประกอบเป็นสารที่สำคัญซึ่งทำงานร่วมในปฏิกริยาต่างๆมากมายในร่างกาย ถ้าขาดวิตามินบี3 เบื่ออาหาร กระเพาะและ ลำไส้ใหญ่เป็นแผลบวม ประสาทผิดปกติ ผิวหนังมีลักษณะแห้งไหม้เป็นแห่งๆ กล้ามเนื้อกระตุก เคลื่อนไหวช้า ว่ายน้ำผิดปกติ เสียการทรงตัว ขากรรไกรผิดรูปร่าง ตกเลือดที่ผิวหนังและครีบ แหล่งวิตามินบี3 ได้แก่ ยีสต์ ตับ ไต หัวใจ ถั่ว ผักสีเขียว ข้าวสาลี นม และไข่

– วิตามินบี5 หรือกรดแพนโททินิก (Pantothenic acid) เป็นน้ำมันสีเหลือง ใช้ในรูปผลึกของเกลือแคลเซียมสีขาว ทนต่อ oxidizing และ reducing agent สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนสูง เป็นองค์ประกอบของ coenzyme A เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานจากสารอาหาร พวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์ไขมัน คอเลสเตอรอล เม็ดเลือดแดง สารฮอร์โมน จากสเตอรอยด์ ถ้าขาดวิตามินบี5 ปลาหยุดกินอาหาร เบื่ออาหาร การเจริญเติบโตลดลง ผิวหนังตกเลือด โลหิตจาง มีเลือดคั่งบริเวณซี่เหงือกทำให้ซี่เหงือกบวม และปลายซี่เหงือกแผ่เป็นแผ่นรวมกัน ผิวหนังเป็นแผล ว่ายน้ำผิดปกติ แหล่งกรดแพนโททินิก รำข้าว รำข้าวสาลี ยีสต์ ตับ ไต หัวใจ ม้าม เนื้อปลา ถั่วลิสง

– วิตามินบี6 หรือไพริดอกซิน (Pyridoxine) สลายตัวได้ง่ายเมื่อโดนแสง ทนต่อความร้อนทั้งในสภาพที่เป็นกรด และด่าง ร่วมปฎิกริยาในการสันดาปโปรตีนให้เป็น ATP ร่วมกับวิตามินบี2 ในการเปลี่ยนทริบโตแฟนไปเป็นไนอาซีน หรือ nicotinic acid มีส่วนร่วมในการสร้าง mRNA เป็น coenzyme สำหรับใช้ protein catabolism ช่วยสร้าง antibody ถ้าขาดตามินบี6 ทำให้หายใจถี่เร็ว เลือดออกตามผิวหนัง ระบบประสาทผิดปกติ เกล็ดตั้ง ตาโปน หงุดหงิดกระวนกระวาย ว่ายน้ำหมุน ตายกระทันหัน และตัวแข็งหลังจากตายอย่างรวดเร็ว แหล่งวิตามินบี6 ได้แก่ ยีสต์ รำ เมล็ดธัญญพืช ไข่แดง ตับ นม

– วิตามินบี7 หรือไบโอติน (Biotin) ละลายได้ในน้ำ และละลายในแอลกอฮอล์ได้เล็กน้อย ทนต่อความร้อน และแสง แต่ถูกทำลายได้ด้วยกรด ด่าง หรือ oxidizing agent เป็นตัวร่วมในการถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ เกี่ยวกับการสังเคราะห์ไขมันในปฏิกริยา elongationให้มีโครงสร้างยาวขึ้น มีส่วนในขบวนการสร้างพลังงานจากสารอาหาร และสังเคราะห์สารจากแอมโมเนียที่ต้องการกำจัดทิ้ง การแบ่งเซลล์ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต มีความสำคัญต่อระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ถ้าขาดวิตามินบี7 การเจริญเติบโตลดลง มีแผลที่ลำไส้ใหญ่ กล้ามเนื้อลีบและกระตุก มีแกนซี่เหงือกหนา แต่ซีด ว่ายน้ำผิดปกติ สีตัวซีด แหล่งวิตามินบี7 ได้แก่ ตับ ไต ยีสต์ นม ไข่ ไบโอตินสังเคราะห์

– วิตามินบี8 หรืออินโนซิทอล (Inositol) ผลึกสีขาว ละลายได้ในน้ำ แต่ไม่ละลายในแอลกอฮอล์หรืออีเทอร์ เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ เปรียบเสมือนกาวยึดเซลล์เข้าด้วยกัน ทำหน้าที่ร่วมกับ Choline ในการรักษาระดับไขมันในร่างกายไม่ให้ไปสะสมที่ตับ เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตของกล้ามเนื้อ ถ้าขาดวิตามินบี8 เจริญเติบโตช้า การย่อยช้า ท้องบวมมีน้ำขัง โลหิตจาง สีคล้ำ ไขมันสะสมที่ตับมาก มีแผลตามตัวและครีบ ลำไส้เล็กมีสีเทา ตกเลือดในลำไส้เล็ก แหล่งวิตามินบี8 ได้แก่ ถั่ว สมอง หัวใจ ยีสต์ กากส้มหรือมะนาว

– วิตามินบี9 หรือโฟลิก (Folic acid) ผลึกรูปสี่เหลี่ยม ละลายได้ทั้งในน้ำ และในแอลกอฮอล์อย่างเจือจาง ตกตะกอนกับเกลือของโลหะ ในสภาพที่เป็นกรดสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตเป็น growth factor และป้องกันโรคโลหิตจางในปลา สร้างเม็ดเลือดแดงที่ส่วนหน้าของไต เป็นตัวรับส่งคาร์บอนเดี่ยวในร่างกาย ถ้าขาดวิตามินบี9 เบื่ออาหาร เหงือกซีด โลหิตจาง ตกเลือดที่ไต และลำไส้เล็ก เม็ดโลหิตแดงมีลักษณะเป็นรูปรักบี้ติดเป็นคู่ๆ มีน้ำในช่องท้อง สีตัวคล้ำ ครีบบางขาดง่าย การเจริญเติบโตลดลง แหล่งวิตามินบี9 ได้แก่ ใบพืชสีเขียว ยีสต์ ตับ ไต เนื้อและเครื่องในปลา ถั่วเหลือง เมล็ดธัญญพืช

– วิตามินบี12 หรือ Cyanocobalamin ในรูปผลึกสีแดง ทนความร้อนได้เล็กน้อย เมื่ออยู่ในสภาพเป็นกลาง สลายตัวได้ง่ายในสภาพเป็นกรดหรือด่าง ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ทำหน้าที่ร่วมกับกรดโฟลิกในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาสภาพของเนื้อเยื่อสมอง ช่วยสังเคราะห์คอเลสเตอรอล ถ้าขาดวิตามินบี12 เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และมีรูปร่างผิดปกติ ปริมาณHemoglobin ต่ำ โลหิตจาง coenzyme แหล่งวิตามินบี12 ได้แก่ ปลาป่น เครื่องในปลา ตับ ไต อาหารที่ใส่วิตามินบี12ควรเก็บในที่เย็น และไม่ควรเก็บไว้นาน

– โคลีน (Choline) ละลายในน้ำทนความร้อนเมื่ออยู่ในสภาพเป็นกรด สลายตัวใน สภาพเป็นด่าง เพราะโคลีนเป็นด่างแก่ เป็นองค์ประกอบของเซลล์ช่วยในการลำเลียงไขมัน ทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินบี8ในการรักษาระดับไขมันในร่างกายไม่ให้ไปสะสมที่ตับ ใช้ในการสร้างสารประกอบใหม่ๆที่ร่างกายต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารอาหาร ถ้าขาดโคลีน การเจริญเติบโตลดลง ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อปลาต่ำ มีไขมันสะสมที่ตับ ตกเลือดที่ไตและลำไส้เล็ก ตับโต ลำไส้และไตแดงช้ำ แหล่งโคลีน ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์

– วิตามินซี (Ascorbic acid) เป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่นละลายในน้ำ เมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นด่าถูก oxidized ไปเป็น dehydroascorbic acid ได้ง่าย มีประสิทธิภาพของการทำงานต่ำ สลายตัวง่ายเมื่อโดนความร้อน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ เกี่ยวกับสร้างโปรตีน คอลลาเจน เม็ดเลือดแดง ภูมิคุ้มกัน สร้างกระดูกอ่อน และกระดูก ช่วยให้แผลหายเป็นปกติ ถ้าขาดวิตามินซี ทำให้การสร้างกระดูกอ่อน และกระดูกผิดปกติ กระดูกสันหลังคดงอ กระดูกอ่อนที่ครีบ ขากรรไกรผิดปกติ เหงือกอ่อนแอไม่เจริญเท่าที่ควร เนื้อบริเวณฐานครีบแดงช้ำ เป็นแผลหายช้า มีการตกเลือดที่ตา ปาก เพดานปาก ตามกระพุ้งเหงือก ตามลำตัว ตับ ไต ลำไส้เล็ก และกล้ามเนื้อ ความต้านทานโรคลดลง การเจริญเติบโตลดลง ตัวดำ ตาย แหล่งวิตามินซี ได้แก่ กะหล่ำ ส้ม มะนาว แมลง ตับ ไต หนังปลา วิตามินซีสังเคราะห์

ปกติวิตามินมีอยู่บ้างในวัสดุที่นำมาทำอาหารสัตว์น้ำอยู่แล้ว แต่เพื่อป้องการขาดวิตามิน  อาจต้องผสมเพิ่มเข้าไป (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534 และ นฤมล, 2549)

  1. แร่ธาตุ เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของปลาหรือสัตว์น้ำ ให้กิจกรรมต่างๆภายในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ เพื่อทำไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆเพื่อเป็นโครงสร้างของร่างกายระบบการจัดสมดุลย์ ปลาได้รับแร่ธาตุหลายชนิดจากน้ำผ่านทางเหงือก และบางส่วนจากวัสดุที่นำมาทำอาหารแต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะบางส่วนสูญเสียไประหว่างขั้นตอนการผลิต หรือปลาใช้ประโยชน์ธาตุนั้นๆจากวัตถุดิบได้น้อย ยากต่อการย่อย และดูดซึม จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร แบ่งแร่ธาตุออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

ก. แร่ธาตุหลัก (Macro mineral) เป็นแร่ธาตุหลักที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่มากมี 7 ธาตุแต่มีเพียง 3 ธาตุที่ต้องใส่เพิ่มในอาหาร ดังนี้

  1. แคลเซียม Calcium (Ca) เป็นสารหลักในการสร้างกระดูก เกล็ด การหดตัวของกล้ามเนื้อการแข็งตัวของเลือด น้ำย่อยได้แก่ Lipase และ Protease การทำงานของระบบประสาท การจัดสมดุลในร่างกาย ปลาดูดซึมแคลเซียมจากน้ำได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำว่าเป็นน้ำอ่อน หรือน้ำกระด้าง และปริมาณฟอสฟอรัสในน้ำและในอาหารถ้ามีมากพอมีผลทำให้ปลาดูดซึมแคลเซียมจากน้ำได้มากขึ้น ส่วนการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ของปลานั้นต้องอาศัยวิตามิน D3 เป็นตัวช่วยจึงดูดซึมได้ดี อาหารสัตว์น้ำที่มีส่วนประกอบวัตถุดิบจากพืชในปริมาณที่มากส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมลดลง นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความเป็นกรดเป็นด่างในทางเดินอาหาร ถ้าทางเดินอาหารมีสภาพเป็นกรดปลาสามารถใช้ประโยชน์จากแคลเซียมในอาหารได้ดีกว่า
  1. ฟอสฟอรัส Phosphorus (P) เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างกระดูกร่วมกับแคลเซียม สร้างพลังงาน และเป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรน เป็นรหัสของกรรมพันธุ์ควบคุมการสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต ใช้ในรูปอนินทรีย์ และอินทรีย์ ปลาดูดซึมฟอสฟอรัสได้จากน้ำได้แต่ในปริมาณที่น้อย ปลาดูดซึมฟอสฟอรัสจากอาหารได้ดีกว่าแต่ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบฟอสฟอรัสในอาหาร ถ้าเป็นพืชดูดซึมได้น้อยมาก แต่ถ้าเป็นสัตว์ เช่นปลาป่นดูดซึมได้ดีพอสมควร ปลาที่มีกระเพาะ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ดูดซึมฟอสฟอรัสได้ดีกว่าปลาที่ไม่กระเพาะ เช่น ปลาไน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับ ปริมาณแคลเซียมในอาหารอีกด้วยเพราะถ้ามีแคลเซียมมากเกินไปทำให้ปลาย่อยฟอสฟอรัสได้น้อยลง ถ้าขาดฟอสฟอรัส ปลาเติบโตช้า หัวกระโหลก และกระพุ้งเหงือกของปลาสั้นกว่าปกติ
  1. แมกนิเซียม Magnesium (Mg) ประมาณร้อยละ 70 ของแมกนิเซียมอยู่ในกระดูกและเกล็ด เป็นตัวช่วยเสริมให้ enzyme ในร่างกายใช้ประโยชน์จาก ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ช่วยสร้างกระดูก มีบทบาทต่อร่างกายในการใช้วิตามินบี1 แมกนิเซียมมีมากทั้งในเนื้อเยื่อของพืช และสัตว์ แต่ปลาสามารถนำแมกนิเซียมในเนื้อเยื่อสัตว์ไปใช้ได้มากกว่า ปลาดูดซึมแมกนิเซียมได้จากน้ำเช่นกัน แต่ในน้ำจืดมีแมกนิเซียมน้อยไม่พอเพียงจำเป็นต้องได้จากอาหาร แต่ปลาทะเลไม่ต้องการเพราะได้แมกนิเซียมจากน้ำทะเลเพียงพอ ปลาที่ขาดแมกนิเซียม มีอาการชัก ขากรรไกรแข็ง แต่ถ้าได้รับแมกนิเซียมมากเกินไปทำให้ปลามีอาการทางประสาท

ข. แร่ธาตุรอง (Trace mineral) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อยมาก มี 7 ธาตุดังนี้

  1. เหล็ก (Fe) ในรูปอนุมูล ferrous (Fe++) เป็นประโยชน์ต่อปลาเนื่องจากปลาดูดซึมได้ดีเหล็กเป็นตัวนำออกซิเจนในปลา และมีผลต่อระบบเอนไซม์ในร่างกาย เป็นองค์ประกอบเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดเหล็กทำให้เป็นโรคโลหิตจาง
  1. ไอโอดีน Iodine (I) เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนที่ช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก ถ้าขาดไอโอดีนทำให้เกิดโรคคอหอยพอกในปลา
  1. สังกะสี Zinc (Zn) เป็นองค์ประกอบเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต เป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างและหน้าที่ของอินซูลินมีบทบาทในความอยากอาหาร ถ้าขาดสังกะสีส่งผลให้ปลามีเลนซ์ตาผิดปกติ
  1. ซีลีเนียม Selenium (Se) ทำหน้าที่คล้ายวิตามินอี ช่วยการคงสภาพของเซลล์เมมเบรนป้องกันโรคตับล้มเหลว (Liver necrosis) และ White muscle แต่ถ้าได้รับมากเกินไปมีผลทำให้ปลาโตช้า อัตราการตายสูง
  1. ทองแดง Copper (Cu) เป็นองค์ประกอบของ Hemocyanin ของเลือดในสัตว์มีเปลือกได้แก่ กุ้ง ปู ช่วยการพัฒนาการกระดูก จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้ามีมากเกินไปส่งผลให้ปลาโตช้า และเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากทองแดงไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก
  1. แมงกานีส Manganese (Mn) เป็นองค์ประกอบเอ็นไซม์ที่ย่อย ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก การสร้างเม็ดโลหิตแดง และการเป็นหมัน
  1. โคบอลต์ Cobalt (Co) จำเป็นในการสร้างวิตามินบี 12 และเม็ดเลือดแดงปริมาณแร่ธาตุที่สัตว์น้ำต้องการที่นำมาผสมในอาหารตามตารางที่ 8 (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534 และ วิมล, 2537)
ตารางที่ 2.8 ปริมาณแร่ธาตุที่สัตว์น้ำต้องการ
แร่ธาตุ ปริมาณ
แคลเซียม(%) 0.3-0.5
ฟอสฟอรัส(%) 0.6
แมกนิเซียม(%) 0.04 - 0.05
เหล็ก (มก./กก.) 30
ไอโอดีน (มก./กก.) 1-5
สังกะสี (มก./กก.) 150
ซีลีเนียม (มก./กก.) 0.15 - 0.40
ทองแดง (มก./กก.) 01.5 - 5.0
แมงกานีส 12
โคบอลต์ 0.05
ที่มา :วิมล (2537)

การย่อยอาหาร (Digestion)

อาหารสัตว์น้ำมีประโยชน์หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการย่อย และดูดซึม นำไปใช้ประโยชน์ของสัตว์น้ำหรือปลา โดยมีปัจจัยหลายๆอย่างที่มีผลต่ออัตราการย่อยอาหาร ดังนี้

  1. ชนิดของสัตว์น้ำ มีความแตกต่างในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ปลาหรือสัตว์น้ำย่อยอาหารแต่ละชนิดได้ไม่เท่ากัน เช่น ปลาที่มีกระเพาะสามารถย่อยฟอสฟอรัสในกระดูกป่นได้แต่ปลาในวงศ์ Cyprinidae ไม่มีกระเพาะที่แท้จริง ไม่สามารถย่อยฟอสฟอรัสในกระดูกป่นได้
  1. อายุของสัตว์น้ำ สัตว์น้ำหรือปลาที่อายุน้อยระบบการย่อยอาหารยังไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยสารอาหาร เช่นโปรตีน และแป้ง ได้น้อยกว่าปลาที่โตแล้ว
  1. ความเครียด ที่เกิดจากหลายสาเหตุ ได้ แก่ โรค สิ่งแวดล้อม มีผลทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ เช่น การขนย้ายปลา ทำให้ปลาไม่กินอาหาร และขับถ่ายมากผิดปกติ
  1. อุณหภูมิ ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิร่างกายจึงเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิน้ำที่อาศัยอยู่ เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปลากินอาหารได้มากเพราะระบบย่อยอาหารทำงานเร็วขึ้น มีน้ำย่อยออกมามาก และน้ำย่อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปลากินอาหารในฤดูร้อนได้ดีกว่าในฤดูหนาว
  1. องค์ประกอบของอาหาร ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเพราะเกษตรกร หรือผู้ผลิตอาหารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยให้สูงขึ้นได้ดังนี้

         5.1 ชนิดวัตถุดิบ โดยทั่วไปสัตว์น้ำสามารถย่อยวัตถุดิบที่มาจากสัตว์ได้ดีกว่าพืช เนื่องจากพืชมีผนังเซลล์ที่ทั้งหนาและแข็งแรงกว่าสัตว์ ทำให้ยากต่อการย่อยทำให้ไม่สามารถดึงสารอาหารนั้นๆออกมาใช้ประโยชน์ได้

         5.2 ขนาดวัตถุดิบ ปลาย่อยวัตถุดิบขนาดเล็กที่บดละเอียดได้ดีกว่าวัตถุขนาดใหญ่ หรือหยาบเพราะน้ำย่อยสามารถเข้าได้ทั่วถึงวัสดุขนาดเล็กได้มากกว่าวัสดุขนาดใหญ่

         5.3 ความสุกของวัตถุดิบ โดยเฉพาะแป้งถ้าทำให้สุกโดยการนึ่งหรือต้มมีประโยชน์กับปลามากกว่าแป้งดิบ เพราะแป้งดิบไปจับตัวทางเคมีกับน้ำย่อยในทางเดินอาหาร ทำให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพลดลง

         5.4 ปริมาณแป้งในอาหาร ปลามีน้ำย่อยแป้งได้ปริมาณจำกัด หากมีแป้งมากเกินความสามารถของน้ำย่อย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการย่อยแป้งลดลง และยังทำให้ปลาย่อยโปรตีนได้น้อยลงอีกด้วย เนื่องจากแป้งที่ไม่ถูกย่อยสามารถเคลื่อนที่ผ่านทางเดินอาหารได้อย่างรวดเร็วพร้อมกับนำโปรตีนบางส่วนออกตามไปด้วย

ตารางที่ 2.1 แหล่งคาร์โบไฮเดรตในธรรมชาติ
วัตถุดิบ % การย่อยได้ % การย่อยไขมัน % การย่อยคาร์โบไฮเดรต
ปลาไน ปลาดุก ปลาไน ปลาดุก ปลาไน ปลาดุก
สาหร่าย 65.5 - - - - -
แหน 80 - - - - -
ปลาป่น 90.3 85.2 - - - -
เนื้อป่น - 75 - - - -
ขนนกป่น - 68.5 - - - -
เลือดป่น 84.7 - - - - -
ไข่แดง 95.3 - - - - -
แป้งมันสำปะหลัง - - - - 95.5 -
เมล็ดข้าวโพดสุก 88 - 79 76 84.3 66
แป้งมันฝรั่งดิบ - - - 96 - 78
แป้งมันฝรั่งสุก - - - - 54 -
แป้งข้าวโพด - - - - 54 -
ข้าวเจ้าป่น 89.5 85.2 91.5 97 90.0 -
ข้าวสาลี 85.5 83.8 - 96 - 59
กากถั่วเหลือง 78.1 79.2 86.0 81 83.5 -
กากถั่วลิสง 92.1 - 90.5 - 73.9 -
กากฝ้าย 77 - 87 81 39.4 17
กากเมล็ดทานตะวัน 76.6 - 86.4 - 26.7 -
เมล็ดยาสูบ 92 - - - 71 -
รำ - 71 - - - -
น้ำมันข้าวโพด - - - 97.3 - -
น้ำมันปลา - - - 97 - -
อาหารสำเร็จรูป 87.2 91.3 82.8 97.3 73.7 80.7

อาหารธรรมชาติ

อาหารสัตว์น้ำแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ อาหารที่ผลิต และอาหารธรรมชาติ โดยอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นเองในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์หน้าดิน ตัวอ่อนแมลง ไส้เดือนน้ำ สัตว์เกาะติด พรรณไม้น้ำ กุ้ง และปลา ปัจจุบันมีอาหารธรรมชาติหลายชนิด ที่สามารถผลิตได้และนำมาใช้อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้มีอัตรารอดตายสูง เพราะอาหารธรรมชาติ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แบ่งได้ดังนี้

ก. แพลงก์ตอนพืช ได้แก่ Chaetoceros spp. Chlorella spp. Spirulina spp.

  1. Chaetoceros spp เป็น สาหร่ายจำพวก Diatom มีโปรตีน 36.1% คาร์โบไฮเดรต 49.2% และไขมัน 20.7% (Ben-Amos et al., 1987 อ้างตาม สุพิศและคณะ,2538) มีสีเหลืองใช้เลี้ยงกุ้ง ปู วัย zoea
  2. Chlorella spp. เป็นสาหร่ายสีเขียวมีโปรตีนสูงถึง 51-58% ไขมัน 14-22% คาร์โบไฮเดรต 12-17% (Becker, 2007) ไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุ ใช้เป็นอาหารโรติเฟอร์ และ ไรแดง
  3. Spirulina spp. หรือสาหร่ายเกลียวทอง เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ผนังเซลล์บาง    มีโปรตีนสูงถึง 63% คาร์โบไฮเดรต 18% ไขมัน 5% เถ้า 9% ความชื้น 5% (ยุวดี, 2544) กรดอะมิโนที่จำเป็นทุกชนิด วิตามิน และแร่ธาตุ และยังมีรงควัตถุ หรือสารสีอีกด้วย ใช้ในอาหารผสมเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน และเลี้ยงปลาสวยงาม
ก.
ข.

ภาพที่ 2.1 Chlorella sp. (ก) และ Spirulina sp.(ข)

ข. แพลงก์ตอนสัตว์ได้แก่ โรติเฟอร์ และ ไรแดง (ภาพที่ 2)

  1. โรติเฟอร์ ที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในปริมาณมากคือ Brachionus plicatilis Muller,1786 อยู่ใน Phylum Rotifera มีโปรตีน 60.48-65.03% ไขมัน 8.35-14.90% และเถ้า 14.93-18.12% นำมาเลี้ยงลูกกุ้งทะเลระยะ Mysis ทดแทนไรน้ำเค็ม หรือ Artemia ที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ (วารินทร์ และคณะ, 2548) และยังเป็นอาหารลูกปลากะพงขาว ปลากะรัง และปลากะพงแดง (ธิดา และคณะ, 2531)
  1. ไรแดง ที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้ในปริมาณมากคือ Moina macrocopa (Straus, 1820) อยู่ใน Phylum Arthropoda อันดับ Cladocera มีฝา (valve) หุ้ม 2 ฝาแต่ปิดไม่สนิท (ธนาภรณ์ และวิชมัย, 2550) มีโปรตีนสูง 74.09% คาร์โบไฮเดรต 12.5% ไขมัน 10.19% เถ้า 3.47% (สันทนา, 2529) นำมาอนุบาลลูกปลาน้ำจืด และเลี้ยงปลาสวยงาม
ก.
ข.
ภาพที่ 2.2 (ก) Brachionus plicatilis Muller, 1786 และ(ข) Moina macrocopa (Straus, 1820)

การสร้างสูตรอาหาร (Feed formulation)

อาหารสัตว์น้ำโดยทั่วๆไปมีส่วนผสมของวัสดุอาหารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เพราะไม่มีวัสดุอาหารใดที่มีโภชนาการครบถ้วน การสร้างสูตรอาหารคือการหาส่วนผสมของอาหารที่ให้โภชนาการ เช่น โปรตีน หรือพลังงาน ตามที่ต้องการ การสร้างสูตรอาหารได้เอง สามารถเลือกใช้วัสดุอาหารในท้องถิ่น (ตารางที่ 10, 11และ12) ที่มีราคาถูก หาได้ง่าย ช่วยลดต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำได้ (ประเสริฐ และคณะ, 2525; กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ, 2534 และ วิมล, 2537)

ตารางที่ 2.10 องค์ประกอบวัสดุอาหารท้องถิ่น
วัสดุอาหาร ความชื้น โปรตีน ไขมัน กาก NFE เถ้า
ปลาสด 67.5 18.0 13.0 0 0 15
เลือดป่น 10.4 81.5 1.0 0.7 1.6 4.8
ขนไก่ป่น 8.1 84.2 2.8 1.0 0.5 3.4
เนื้อและกระดูกป่น 7.4 49.1 10.3 2.6 0.7 29.9
กุ้งป่น 10 40.6 2.6 14.2 2.6 30.0
เศษไก่ป่น 6.5 57.5 15.0 2.3 3.1 15.6
ไส้ไก่ 73.7 13.9 11.2 0 0 1.2
ปลาหมึกป่น 8.1 74.8 8.8 0 4.9 3.4
ปูป่น 6.5 31.0 2.1 10.6 13.7 36.1
กากถั่วเหลือง 11.8 -46.9 1.3 6..5 25.1 8.4
กากถั่วลิสง 7.0 48.0 5.8 7.0 27.1 5.1
กากเมล็ดฝ้าย 9.8 41.7 1.5 11.3 28.8 6.9
กากเมล็ดงา 8.0 40.4 10.6 6.4 24.2 10.4
กากมะพร้าวอัด 8.5 20.8 6.3 12.0 45.4 7.0
ใบกระถินป่น 10.0 23.9 2.9 9.4 49.5 3.2
รำละเอียด 10.0 12.2 11.8 12.3 40.6 13.1
ข้าวโพด 11.2 9.4 0.2 0.8 77.2 1.2
ข้าวสาลี 12.1 12.0 1.7 2.5 70.0 1.7
รำข้าวสาลี 12.1 14.7 4.0 9.9 53.5 5.8
ข้าวฟ่าง 11.2 10.6 3.0 1.9 71.4 1.9
มันสำปะหลัง 13.5 2.2 0.5 3.0 71.8 5.0
ตารางที่ 2.11 องค์ประกอบของวัตถุดิบและวัตถุดิบแปรรูป
วัสดุอาหาร โปรตีน ไขมัน เยื่อใย คาร์โบไฮเดรต เถ้า แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โปแตสเซียม
ปลาป่น 63.9 6.8 0.6 4.0 17.6 4.14 2.67 10.22 0.4
ปูป่น 31.6 2.1 10.3 7.2 40.9 15.15 1.63 5.05 0.45
กากถั่วเหลืองป่น 44.3 5.3 5.7 29.6 6.0 0.29 0.66 7.09 1.77
รำละเอียด 12.4 13.16 11.6 39.9 13.3 0.08 1.36 1.98 1.74
กากมะพร้าว 20.0 11.6 11.5 42.6 6.0 0.21 0.64 3.41 1.95
กากถั่วลิสง 43.5 7.6 13.3 23.4 5.2 0.16 0.45 6.96 1.15
รำข้าวสาลี 16.4 4.6 10.0 53.1 6.1 0.13 1.29 2.62 1.23
ยีสต์แห้ง 38.8 1.9 6.1 30.2 14.0 - - 6.21 -
เลือดป่น 82.2 1.9 0.9 0.9 5.7 0.32 0.25 13.15 0.09
กระดูกป่นอบไอน้ำ 7.5 1.2 1.5 3.2 82.1 30.14 14.53 1.2 -
แป้งสาลี 10.8 0.9 0.3 75.6 0.4 0.02 0.09 1.73 0.05
กากเมล็ดป่าน 35.2 4.6 8.9 36.7 5.7 0.37 0.86 5.63 1.24
ข้าวโพด 8.5 3.8 2.0 68.0 1.2 0.02 0.27 1.36 0.28
ตารางที่ 2.12 ปริมาณธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในสารที่ใช้เติมอาหารผสม
ชนิด %แคลเซียม %ฟอสฟอรัส
กระดูกป่นแห้ง 29.0 13.6
ไดแคลเซียมฟอสเฟต 26.5 20.5
หินปูนบด 33.8 -
ถ่านกระดูก 22 13.1
แคลเซียมฟอสเฟต 17.0 21.0
โซเดียมฟอสเฟต - 22.4
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต - 20.0
เปลือกหอยนางรมป่น 35.0 -
ตารางที่ 2.13 เปอร์เซ็นต์ค่าเฉลี่ย และค่าสูงสุด (ค่าในวงเล็บ) ของวัสดุอาหารที่ใช้ทำอาหารสัตว์น้ำ
วัสดุอาหาร ปลากินเนื้อ ปลากินทั้งพืชและสัตว์ กุ้งทะเล กุ้งน้ำจืด
ปลาป่น ไม่จํากัด ไม่จํากัด ไม่จํากัด ไม่จํากัด
ปลาสด ไม่จํากัด ไม่จํากัด ไม่จํากัด ไม่จํากัด
เลือดป่น 7.5(10) 3(10) 6(10) 6(10)
ขนไก่ป่น 5(15) 5(20) 0(15) 0(20)
เนื้อและกระดูกป่น 10(20) 10(25) 7(15) 9(20)
กุ้งป่น 10(20) 7(25) 23(ไม่จํากัด) 20(ไม่จํากัด)
เศษไก่ป่น 5(15) 7(20) 0(15) 0(20)
ปลาหมึกป่น 0(ไม่จํากัด) 0(ไม่จํากัด) 25(ไม่จํากัด) 11(ไม่จํากัด)
กากถั่วเหลือง 42(35) 35(40) 0(20) 0(30)
กากถั่วลิสง 10(15) 20(25) 7(15) 13(25)
กากเมล็ดฝ้าย 10(15) 15(20) 0(10) 0(15)
กากมะพร้าวอัด 0(15) 15(35) 7(15) 21(25)
ใบกระถินป่น 3(5) 4(10) 0(5) 4(10)
รําละเอียด 10(15) 15(35) 12(35) 26(35)
ข้าวโพด 8(20) 26(35) 10(15) 30(35)
ข้าวสาลี 10(20) 15(35) 10(20) 18(35)
ข้าวฟ่าง 0(20) 18(35) 0(15) 0(35)
ขนไก่ป่น 0(15) 0(35) 8(15) 10(25)
ที่มา: วิมล (2537)

การทำอาหารทดสอบ (Preparation on test diet)

อาหารทดสอบเป็นอาหารที่ใช้ในการทดลองวิจัยในห้องปฎิบัติงานของนักวิจัย ทางด้านอาหารสัตว์น้ำซึ่งต่างจากอาหารสัตว์น้ำทั่วๆไป อาหารทดสอบจัดเป็นอาหารสมบูรณ์แบบ ประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีคุณภาพครบถ้วนต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ รสชาดดี มีขนาดเหมาะสมกับสัตว์น้ำที่ใช้ทดลอง คงทนอยู่ในน้ำได้นานเพียงพอ ใช้แหล่งวัสดุที่มีคุณภาพ ย่อยง่าย ไม่มีพิษต่อสัตว์น้ำทั้งทางตรง และทางอ้อม ไม่จำเป็นต้องราคาถูก เช่น โปรตีน นิยมใช้ casein และ gelatin ในอัตราส่วน 5:1 จัดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี และไม่มีวิตามิน สำหรับใช้การทดลองที่เกี่ยวกับวิตามิน ไขมัน นิยมใช้ น้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือน้ำมันปลา แป้งนิยมใช้ในรูป dextrin ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของแป้งที่สัตว์น้ำสามารถย่อยได้เป็นอย่างดี วิตามินและแร่ธาตุ โดยใช้แบบสำเร็จรูปแต่ละตัวนำมารวมกัน สารเหนียวเป็นพวก cellulose ช่วยให้วัสดุอาหารจับตัวและคงทนอยู่ในน้ำได้นานพอสมควร ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารทดสอบส่วนใหญ่เป็นอาหารเปียกจึงนิยมใส่วุ้น (agar) หรือ carboxymethyl cellulose (CMC) เพื่อลดการสูญเสียอาหารเมื่ออยู่ในน้ำโดยใส่ประมาณ 2-5% การทำอาหารทดสอบจำแนกตามสารอาหารที่ต้องการทดสอบดังนี้ (Lovell, 1989; N.R.C., 1973; N.R.C., 1977 และประเสริฐ และคณะ, 2525)

1.การทำอาหารทดสอบวิตามิน
เมื่อต้องการทดสอบว่าวิตามินตัวใดตัวหนึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโต ลักษณะอาการต่างๆ หรือเพื่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ให้ละเว้นการเติมวิตามินดังกล่าวลงไปในวิตามินรวมจากตารางที่ 19 และ 20

ตารางที่ 2.14 ชนิดและปริมาณวิตามินที่ใช้ในอาหารสมทบ และอาหารสมบูรณ์แบบ
วิตามิน อาหารแห้ง 1 กก.*
อาหารสมทบ อาหารสมบูรณ์แบบ
วิตามิน A 2000 IU 5500 IU
วิตามิน D3 220 IU 1000 IU
วิตามิน E 11 IU 50 IU
วิตามิk E 5 มก. 10 มก.
ไทอามีน 0 20 มก.
ไรโบเฟลวิน 2-7 มก. 20 มก.
ไนอาซีน 17-18 มก. 100 มก.
D-Calcium pantothenate 7-11 มก. 50 มก.
ไพริดอกซิน 111 มก. 20 มก.
ไบโอติน 0 5 มก.
อินโนซิทอล 0 100 มก./td>
โฟลิก 0 5 ทก.
วิตามินB12 2-10 ไมโครกรัม 20 ไมโครกรัม
โคลีน 440 มก. 550 มก.
วิตามินC 0-100 มก. 30-100 **มก.

IU international unit

*ปริมาณที่กำหนดไว้ไม่ได้เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียที่เกิดจาการผลิตหรือการเก็บรักษา

** ปริมาณวิตามิน C ปกติ 100 มก./อาหาร 1 กก. โดยเฉพาะบ่อที่มีผลผลิตสัตว์น้ำสูงกว่า 80 กก./ไร่

ตารางที่ 2.15 ชนิดและปริมาณวัสดุที่ใช้ทำอาหารทดสอบวิตามินกับปลาดุกอุย
วัสดุ ปริมาณในอาหาร (%)
Casein (ชนิดไม่มีวิตามิน) 29
Corn dextrin 30
น้ำมันพืช (ถั่วเหลือง) 6
วิตามินรวม 2
แร่ธาตุรวม** 4
แป้ง Cellulose 20
Carboxymethyl cellulose 3
ที่มา :วิมล (2537)

2. การทำอาหารทดสอบกรดอะมิโนเมื่อต้องการทดสอบกรดอะมิโนตัวใดที่มีผลต่อการเจริญเติบโต อาการหรือการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ให้ละเว้นการเติมกรดอะมิโนชนิดนั้น

ตารางที่ 2.15 ชนิดและปริมาณวัสดุที่ใช้ทำอาหารทดสอบวิตามินกับปลาดุกอุย
วัสดุ ปริมาณในอาหาร (%)
Amino acid mixture3 33
Corn dextrin 20
Cellulose, powder 20
Corn, oil 7
Fish oil** 4
Carboxymethyl cellulose 10
Vitamin mixture1 4
Mineral mixture2 2
1 Amino acid mixture กรัม/100 กรัมของสารแห้ง ดังนี้
Arginine 2.4 Tryptophan 0.5 Histidine 1.2 Tyrosine 1.9
Isoleucine 1.9 Valine 1.9 Leucine 2.8 Glycine 3.5
Lysine 2.4 Alanine 1.7 Methionine 0.9 Aspartic acid 2.4
Phenylalanine 1.9 Cystine 0.3 Threonine 1.2 Glutamic acid 3.8
Proline 2.3
ตารางที่ 2.17 ชนิดและปริมาณแร่ธาตุที่ใช้ในอาหารสบทบและอาหารสมบูรณ์แบบ
วิตามิน อาหารแห้ง 1 กก.*
อาหารสมทบ อาหารสมบูรณ์แบบ**
CaCO3 A 0.750 1.480
MnSO4.H2O 0.030 0.035
ZnSO4.7H2O 0.070 -
CuSO4.5H2O 0.006 0.003
FeSO4.7H2O 0.050 0.050
NaCl 0.750 0.60
KIO3 0.0002 0.001
CaHPO4.2H2O 2.00 2.07
MgSO4 - 0.30
ZnCO3 0 0.015
CoCl2 - 0.00017
NaMoO4.2H2O - 0.00083
NaSeO3 - 0.00002

*เป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบถ้วนตามที่สัตว์น้ำชนิดนั้นๆ ต้องการ

**เป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

วิธีทำอาหารทดสอบชนิดเปียกมีขั้นตอนดังนี้

  1. ชั่งวัสดุที่นำมาใช้แต่ละตัวแล้วแยกเก็บแต่ละตัว
  2. นำวัสดุทุกตัวยกเว้นพวกน้ำมันมารวมกันในเครื่องผสมแบบมีใบพัด (Hobart mixer)ประมาณ 6-7 นาที ควรใส่วัสดุที่ใช้ปริมาณมากที่สุดก่อน แล้วใส่วัสดุที่ใช้น้อย เช่น วิตามิน แร่ธาตุ สารกันรา คั่นตรงกลาง แล้วใส่วัสดุที่มีปริมาณมากอันดับรองไว้ข้างบน
  1. หลังจากคลุกเคล้าดีแล้วด้วยเครื่องผสม เติมน้ำสุกอุ่นลงไป 35 % โดยน้ำหนัก เช่น ทำอาหาร 1 กก เติมน้ำ 350 ซีซี เปิดเครื่องผสม 7-8 นาที ทำให้อาหารผสมรวมกับน้ำมีลักษณะ เป็นผงร่วน สามารถนำมาทำเป็นแผ่น หรือปั้นเป็นก้อนได้
  1. นำอาหารผสมที่ได้เข้าเครื่องบดอัดออกเป็นเส้น โดยเลือกหน้าแว่นให้พอเหมาะกับขนาดสัตว์น้ำ หรือปลาที่นำมาทดลอง
  1. นำอาหารผสมที่ได้เป็นเส้นแท่งยาว มาหัก หรือตัดให้เป็นแท่งเล็กๆ แล้วเก็บในภาชนะหรือถุงพลาสติกที่กันน้ำได้ นำไปแช่แข็ง การแช่แข็งทำให้อาหารคงสภาพความสมบูรณ์ทางโภชนาการไว้ได้นาน ก่อนนำอาหารทดสอบไปทำการทดลองต้องนำมาวิเคราะห์คุณค่าอาหาร และพลังงานเสมอ

วิธีการสร้างสูตรอาหาร

ก. โดยใช้วิธีรูปสี่เหลี่ยม Square method balance (Morrison, 1961) โดยมีวิธีทําดังนี้

1. วาดรูปสี่เหลี่ยม

2. ตรงกลางใส่เปอร์เซ็นต์โปรตีนที่ต้องการให้มีในอาหาร

3.ใส่เปอร์เซ็นต์โปรตีนของวัสดุอาหารที่นำมาทำอาหารที่มุมบน แบะมุมล่างซ้าย สำหรับอาหารสัตว์น้ำวันอ่อนที่ใช้วัสดุอาหารเพียง 2 ชนิด

4.ลบเปอร์เซ็นต์โปรตีนของไข่และสไปรูไลนาออกจากเปอร์เซ็นต์โปรตีนของอาหารผสมใส่ไว้ในมุมตรงข้าง

5.ผลลบที่ได้คืออัตราส่วนของไข่ และสไปรูไลนา โดยคิดเป็นร้อยละของหน่วยน้ำหนัก ดังนี้

อาหารผสม 25 ส่วน มีไข่ 20ส่วน

อาหารผสม 100 ส่วนมีไข่อยู่

อาหารผสม 25 ส่วนมีสไปรูไลนา 5 ส่วน

อาหารผสม 100 ส่วนมีปลาป่นอยู่

 

ตารางที่ 4.1 โปรตีนในอาหารผสมของสูตรอาหาร
ส่วนผสม % %โปรตีนในสารอาหาร %โปรตีนในอาหารผสม
ไข่ 80 35
สไปรูไลนา 20 60
รวม 100 80 40

กรณีที่ใช้วัสดุอาหารมากกว่า 2 ชนิด ที่ต้องใส่แป้งเหนียวเพื่อช่วยให้อาหารเกาะตัวกันได้ดีและคงรูปอยู่ในน้ำได้นานอีกทั้งยังต้องเสริมวิตามิน และแร่ธาตุสามารถคํานวนได้ดังนี้ ต้องการอาหารผสมปลาดุก 100 ให้มีโปรตีนในอาหาร กก. 40% โดยใช้ ปลาป่นกากถั่วเหลืองรําและปลายข้าวโดยใช้ปลาป่น:กากถั่วเหลือง = 1:1 และ รํา:ปลายข้าว = 2:1 โดยมีแป้งเหนียว20% แร่ธาตุ 2%และวิตามิน1%

1. วัสดุที่กําหนดปริมาณแน่นอนให้โปรตีน

ดังนั้นเหลือโปรตีน= 40-2.18 = 37.82%

ส่วนผสมปลาป่นกากถั่วเหลืองรําและปลายข้าว 100 – 20 – 2 – 1 = 77กก. ส่วนผสมปลาป่นกากถั่วเหลืองรําและปลายข้าว 77กก. ต้องมีโปรตีน 37.82 กก. ส่วนผสมทั้ง4 อย่าง100 กก ต้องมีโปรตีน

ตารางที 4.2 ปริมาณโปรตีนของวัสดุอาหาร
ส่วนผสมอาหาร ส่วนที่ใช้ %โปรตีน ปริมาณโปรตีน
รำ 2 12.7 2x12.7 = 25.4
ปลายข้าว 1 9.6 1x9.6 = 9.6
รวม 3 35.0
เฉลี่ย 1 11.6%
ปลาป่น 1 61.5 1x61.5 = 61.5
กากถั่วเหลือง 1 44.0 1x44.0 = 44.0
รวม 2 105.5
เฉลี่ย 1 52.25%

รำ+ปลายข้าว 3.13 ส่วนใน 40.65 ส่วนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์

ดังนั้นรำ = 7.7x 2/3 = 5.13 %
ดังนั้นปลายข้าว = 7.72 x 1/3 = 2.57 %
ปลาป่น + กากถั่วเหลือง37.52 ส่วนใน 40.65 ส่วนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์

ดังนั้นปลาป่น 92.3 x 1/2 = 46.15%
ดังนั้นกากถั่วเหลือง = 92.3 x 1/2 = 46.15%
ปลาป่นกากถั่วเหลืองรำและปลายข้าว 77กก. มีปลาป่น+ กากถั่วเหลือง

มีปลาป่น และ กากถั่วเหลืองอย่างละ 71/2 = 35.5 กก.
ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำ และปลายข้าว 77 กก. มีรำ+ปลายข้าว

มีรำ 6×2/3 = 4 กก.
มีปลายข้าว 6×1/3 = 2 กก.

ตารางที 4.3 ปริมาณโปนตีนของอาหารผสมของสูตรอาหารที่สร้าง
ส่วนผสมอาหาร ส่วนที่ใช้ %โปรตีน ปริมาณโปรตีน
ปลาป่น 35.5 61.5
กากถั่วเหลือง 1 9.6
รำ 3
ปลายข้าว 1
แป้งเหนียว 1 61.5
แร่ธาตุ (RMUTP PREMIX) 1 44.0
วิตามิน (RMUTP PREMIX) 2
รวม 1 40.27%

วิธีรูปสี่เหลี่ยมสามารถใช้หาสมดุลย์ของพลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุได้เช่นเดียวกับโปรตีน

ข. การสร้างสูตรอาหารให้มีทั้งปริมาณโปรตีน และพลังงานตามต้องการ โดยการใช้ สมการทางพีชคณิต เหมาะสำหรับทำอาหารทดลอง ตัวอย่างเช่น

หาส่วนผสมของรำ และถั่วเหลืองที่จะให้อาหารผสมมีโปรตีน 30% และพลังงาน220 kcal Metabolizable Energy (ME) /100 กรัม ให้รำมีโปรตีน 8.2% และพลังงาน 1.992 kcal /100 กรัม ถั่วเหลือง มีโปรตีน 44% และพลังงาน 2.438 kcal /100 กรัม