RMUTP

แพลตฟอร์มการเรียนรู้

นวัตกรรมชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้


RMUTP community innovation learning platforms (RMUTP CILP)

นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

1. ความเป็นมา

อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มตามแนวชายฝั่งทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลนด้านทิศตะวันออก สามารถใช้ประโยชน์กิจการด้านป่าไม้มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และนาเกลือ ส่วนอากาศจะคล้ายคลึงกับตำบลอื่น ๆ ของอำเภอบ้านแหลม คือ มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด และฤดูฝน มีฝนตกค่อนข้างชุกระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล

ภาพที่ 1 ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

2. บริบทปัญหาเชิงพื้นที่

การเลี้ยงกุ้งที่ตำบลบางขุนไทรเป็นกุ้งขาว มีลักษณะโดนเด่นกว่าที่อื่นเนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่ติดทะเล น้ำกร่อย เลี้ยงแบบชีวภาพ มีประมาณ 20 บ่อ ระยะเวลาในการเลี้ยงกุ้งต่อรุ่น 3-4 รอบต่อบ่อ แต่ละรุ่นจะเลี้ยงไม่เกิน 90 วัน ซึ่งปัญหาของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่มากจากต้นทุนของอาหารกุ้งที่มีราคาสูง

ปัญหาต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะในเรื่องอาหารจะตกอยู่ประมาณ 50-70 % ของต้นทุนทั้งหมด หากผู้เลี้ยงไม่ให้ความสําคัญต่อการให้อาหารสัตว์น้ำ โอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวในการเลี้ยง ก็จะสูงตามไปด้วย เพราะต้นทุนทางด้านราคาอาหารสัตว์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกําไรหรือขาดทุนของเจ้าของกิจการ ซึ่งอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ โปรตีนนับเป็นสารอาหารที่มีความสําคัญที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะมีราคาแพงที่สุด ปริมาณโปรตีนที่จะนํามาใช้ในการสร้างสูตรอาหารเนื่องจากโปรตีนเป็นสารอาหารที่มีราคาแพงกว่าสารประเภทอื่น ๆ จึงควรใช้แต่พอกับความต้องการของสัตว์น้ำเท่านั้น นอกจากนั้นการเลือกใช้แหล่งโปรตีนที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตอาหารได้อีกด้วย

ภาพที่ 2 ถุงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

3. วัตถุดิบในพื้นที่ (อธิบายเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบ ระบุแหล่งซื้อขายวัตถุดิบ)

กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งจะซื้ออาหารกุ้งเป็นเงินเชื่อจากร้านค้าในหมู่บ้าน ราคาขายจะอยู่ที่ปริมาณของโปรตีน ในแต่ละยี่ห้อ เช่น ยี่ห้อแวนน่า เอแพค แมค ปริมาณ 1 ถุง น้ำหนัก 25 กิโลกรัม มีส่วนผสมของโปรตีน 39 % ราคาประมาณ 910 บาท และยี่ห้อไทยลักซ์ ซึ่งมีส่วนผสมของโปรตีนสูงสุด คือ 42 % ราคาประมาณ 1,100 บาท ราคาขายกุ้งสดหน้าบ่อ 1 กิโลกรม กุ้ง 100 ตัว ขายได้ราคา 100 บาท กุ้ง 80 ตัว ขายได้ราคา 110 บาท กุ้ง 45 ตัว ขายได้ราคา 180 บาท เป็นต้น

4. แนวทางการออกแบบนวัตกรรม

4.1 มีการศึกษาข้อมูลสุขภาวะบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์หรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

4.2 สำรวจพื้นที่ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูล เช่น ข้อมูลสถานที่จำหน่าย ราคาสินค้า กลุ่มผู้บริโภค จุดอ่อนจุดแข็ง สถานการณ์ที่ได้เปรียบ

4.3 การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ ชุมชนต้องการถุงหรือบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันกลิ่น มีสีสัน กันน้ำได้ ขนาด 25 กิโลกรัม กำลังพอดีสามารถยกข้ามบ่อได้ และต้องการนำถึงกลับมาใช้ใหม่ได้

โดยทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่ใน ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อชี้แจงโครงการ ที่มา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินงานของโครงการ และขอความอนุเคราะห์ในการลงพื้นที่ตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการวิจัย ร่วมกับ นายศรีเพชร นามเดช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย ทั้งนี้นายกได้บอกเล่าประวัติ ความเป็นมา จุดเด่น สถานท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบล รวมถึงแนวทางและมอบหมายผู้รับผิดชอบการประสานงานโครงการในการลงพื้นที่ คือ นายสนั่น  มงคลการ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย เพื่อติดต่อประสานงานในระดับพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ อบต. ได้ลงพื้นที่พบปะชุมชน ผู้ประกอบการและกลุ่มแปรรูป ที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย สอบถามข้อมูลเชิงพื้นที่ บริบทเชิงพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน

รูปภาพ สำรวจพื้นที่ ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
รูปภาพ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตำบลบางขุนไทร

5. นวัตกรรมที่นำมาใช้ แสดงภาพแบบจำลองพร้อมคำอธิบายการทำงานเบื้องต้น

ข้อมูลจำเพาะนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารกุ้ง

  1. ชื่อสินค้าไทย อาหารกุ้ง บ้านแหลม
  2. อังกฤษ Ban Laem’s – Shrimp food
  3. สโลแกน หรือประโยคปิดการขาย    “กินดี โตไว เปลือกไม่นิ่ม”
  4. ส่วนประกอบ  Probiatic Aminoacid Grutamic
    4.1 โปรตีน                 39.9%           เปอร์เซ็น
    4.2 ขนาดบรรจุ            25                กิโลกรัม
    4.3 ลักษณะรูปกุ้งที่ต้องการ   กุ้งขาวไดนาไมท์
  5. ผู้ผลิต องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3278-3241
  6. บาโค้ช /คิวอาโค้ชไลน์ หรือเพจ  http://shrimpfoodbanlaem.lnwshop.com/
ภาพที่ 3 แบบผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ อำเภอบ้านแหลม

6. สรุปผลการวิจัย

ผลการดำเนินงานตลอดโครงการโดยเริ่มการศึกษาสภาพปัญหาเชิงพื้นที่ อัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ความต้องการบรรจุภัณฑ์ สุขภาวะบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ และห่วงโซ่คุณภาพบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจและนำสังเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากการสำรวจพื้นที่ โดยพบว่า ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมทานส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นของแห้ง ซึ่งจะเป็นที่ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดการตากแห้งแดดเดียวและเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมทาน จะมีวัตถุดิบบางส่วนที่นำเข้ามาจากแหล่งอื่น ๆ เนื่องจากผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเลมีวัตถุแปรรูปไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมที่มีการนำวางจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นของของแห้งหลายชนิดด้วยกัน อาทิเช่น  ปลาวง ปลาไส้ตัน หอยแมลงภู่ ตากแห้ง กุ้งฝอย กุ้งเนื้อ ปลาช่อนทะเล หมึกแห้ง หอยเสียบ หอยปรุงรส หอยเปียก เป็นต้น ฉะนั้นปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการจำหน่าย ซึ่งในแต่ละร้านค้าจะมีบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป อีกประการสำคัญของปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ส่วนมากคือ ลูกค้าไม่พึงพอใจเรื่องกลิ่น ในส่วนของบรรจุภัณฑ์นั้นต้องการให้ปกป้องผลิตภัณฑ์ให้มีการคงสภาพเดิมได้นานและง่ายต่อการขนส่ง โดยในพื้นที่จะมีกลุ่มลูกค้ามารับการจำหน่ายตรงในพื้นที่ กลุ่มลูกค้าส่งตามร้านอาหารทะเลและกลุ่มลูกค้าตามตลาดนัด ซึ่งในเขตอำเภอบ้านแหลมนี้จะมีร้านจำหน่ายของฝากอยู่ประมาณ 8-9 ร้านเท่านั้น ที่เหมือนกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ที่นิยมชื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในอำเภอบ้านแหลม จะประกอบด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ นักท่องเที่ยวประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ได้จากการขายให้กับคนในพื้นที่อีก 10 เปอร์เซ็นต์ และขายในตลาดออนไลน์อีก 10 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของตลาดออนไลน์นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการขายอย่างต่อเนื่องเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ตอบสนองต่อการเลือกชื้อและการขนส่งสินค้า

ผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลสุขภาวะบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ที่ตอบสนองต่อการจำหน่ายทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้ ในการพัฒนานวัตกรรมอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้สอดรับกับการจำหน่ายที่หลากหลายรูปแบบและเพิ่มจุดดึงดูดการจำหน่ายที่ดีขึ้นบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่จำหน่ายในตลาดนัดก็จะเป็นกลุ่มคนในพื้นที่ ร้านจำหน่ายของฝากและของที่ระลึก ศูนย์จำหน่ายสินค้าของจังหวัดเพชรบุรี หรือแม้กระทั้งตลาดออนไลน์ ซึ่งในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์มีหลักการออกแบบและประเมินคุณภาพบรรจุภัณฑ์ ด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์ ด้านการบรรจุ ด้านการอำนวยความสะดวก ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ด้านความสะอาดและปลอดภัย โดยแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมาประกอบอีกทางหนึ่งโดยคำนึงถึงรูปแบบการผลิต ความสวยงาม การใช้สอยความเข้ากันได้กับเครื่องจักร และใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงทดสอบความพึงพอใจของผู้ประกอบการ คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อบรรจุภัณฑ์ที่ได้พัฒนาแล้วนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อหาประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และนำนวัตกรรมเข้าสู่การใช้งานจริง ซึ่งพบว่า โดยรวมทดสอบความพึงพอใจของผู้ประกอบการ คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ (= 4.45, S.D. = 0.66) และด้านที่ผู้ประกอบการ คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวมีความ พึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านกราฟิกของบรรจุภัณฑ์ (= 4.55, S.D. =0.66) ในรายข้อ สีสันสวยงาม ผลการประเมินตัวอย่างบรรจุภัณฑ์จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลในท้องถิ่นชุมชน พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล เฉลี่ยอยู่ในระดับ มากคือ (= 4.25, S.D. = 0.55) จากการนวัตกรรมการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ปลาหมึกตากแห้ง บรรจุภัณฑ์ปลาวง บรรจุภัณฑ์หอยลายปรุงรส และบรรจุสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหารกุ้ง ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้านำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เพิ่มทางเลือกชื้อสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน

ทีมนักวิจัย

ให้คะแนนนวัตกรรมนี้

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนการโหวต: 32

No votes so far! Be the first to rate this post.