- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับโครงการ
- ทำเนียบผู้บริหาร
- นวัตกรรมชุมชน
- นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
- นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน
- นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
- นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย
- เตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน
- นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล
- นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
- นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
- นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
- นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
- แบบนวัตกรรมเครื่องจักร
- คลังภาพ
- KM
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 1 สูตรอาหารกุ้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 2 เครื่องผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 3 ระบบผลิตปุ๋ยอินทรี
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 4 เตาเผาขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 5 ทุ่นดักขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 6 บรรจุภัณฑ์
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 7 การตลาด
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 8 โรงอบแห้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 9 การจัดการ
- หลักสูตรพัฒนานักนวัตกร
- คู่มือการใช้งาน
- ติดต่อเรา
- ไทย
นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
1. ความเป็นมา
โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล เป็นโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี โดยมีการบูรณาการร่วมกับโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ (Up Stream) กลางน้ำ (Middle Stream) และปลายน้ำ (Down Stream) ซึ่งในส่วนของต้นน้ำ จะเชื่อมโยงกับโครงการการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใน 10 ตำบล ของ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โครงการสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ในการคิดค้นสูตรในกระบวนการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมที่มีมาตรฐาน โครงการการออกแบบและสร้างเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ โดยการสร้างเครื่องจักรที่มีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเหมาะสม โครงการการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด ในการสร้างโรงเรือนเพื่อใช้ในการอบแห้งอาหารทะเลแปรรูป ในส่วนของกลางน้ำ จะใช้โครงการการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล และในส่วนของปลายน้ำ จะใช้โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล โดยนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัล เพื่อขยายและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคจะทำให้ธุรกิจมีแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ โดยใช้นวัตกรรมการตลาดดิจิทัล เป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า เนื่องจากเป็นรูปแบบทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง ด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว ช่วยลดข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ และเวลาในการดำเนินงานของธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสะดวก สบาย และเข้าถึงสินค้าหรือติดต่อสื่อสารกับผู้ประกอบการได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดประสบการณ์ที่ดีในการซื้อสินค้า จนเกิดความพึงพอใจต่อธุรกิจ และให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของธุรกิจต่อไป
ดังนั้น โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล จึงเป็นโครงการที่มุ่งเน้นในการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมกับพฤติกรรมของผู้บริโภค พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ ให้ความสนใจ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุด จนกระทั่งเกิดการแนะนำบอกต่อแก่บุคคลอื่น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองและแบ่งปันสู่สมาชิกในครัวเรือนหรือในกลุ่มชุมชนได้ รวมไปถึงการสร้างนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทางการตลาด และเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
2. บริบทปัญหาเชิงพื้นที่
จากการลงพื้นที่สำรวจและจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล กลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการมีปัญหาเกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า โดยขายสินค้าที่ตลาดนัดเพียงช่องทางเดียว จึงอยากเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบประเด็นส่วนประสมทางการตลาด ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยชี้แจงกับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาและขอความร่วมมือในการให้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ดำเนินการสัมภาษณ์ในประเด็นปัญหาของส่วนประสมทางการตลาด โดยเริ่มดำเนินการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล จะเป็นการช่วยกำหนดจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) จากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) จากสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อที่จะนำไปใช้ในการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Platform การตลาดออนไลน์ ที่เข้าถึงได้รวดเร็ว เจาะกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย ทำให้ปริมาณการขายและยอดขายเพิ่มมากขึ้น สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต
ผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแก่ชุมชน/ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย 1) ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำเนื่องจากใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น 2) ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เป็นที่รู้จัก
กลยุทธ์เชิงแก้ไข ประกอบด้วย 1) ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในระยะแรก 2) นำนวัตกรรมใหม่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ
กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ พัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความแตกต่างและคุณภาพดีกว่าคู่แข่ง
กลยุทธ์เชิงรับ คือ พัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องต่อการขาย และทำการตลาดผลิตภัณฑ์
ผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแก่ชุมชน/ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล สรุปได้ดังนี้
กลยุทธ์เชิงรุก ประกอบด้วย 1) ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำเนื่องจากใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น 2) ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัล และ 3) ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
กลยุทธ์เชิงแก้ไข ประกอบด้วย 1) สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลและประชาสัมพันธ์ผ่านนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัลเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในระยะแรก 2) สร้าง Storytelling และดึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้เป็นที่น่าจดจำ 3) พัฒนาฉลาก กราฟิก และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ให้หลากหลาย และดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย 4) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม
กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและพัฒนากลยุทธ์การขายให้สอดรับกับกระแสและทิศทางของตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลในปัจจุบัน 2) พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
กลยุทธ์เชิงรับ คือ 1) จัดอบรมให้ความรู้ในการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง 2) พัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องต่อการขาย และทำการตลาดผลิตภัณฑ์
3. แนวทางการออกแบบนวัตกรรม แสดงภาพอธิบายการทำงานเบื้องต้น
จากผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix จึงนำมาพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ดังนี้
1) พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
2) พัฒนาฉลาก กราฟิก และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
3) สร้างแบรนด์ สร้าง Storytelling ของแบรนด์ ดึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่น่าจดจำ
4) ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
5) ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัล Platform การตลาดออนไลน์
4. นวัตกรรมที่นำมาใช้ แสดงภาพแบบจำลองพร้อมคำอธิบายการทำงานเบื้องต้น
ผู้วิจัย ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน/ผู้ประกอบการ จากการสังเกตการณ์ สัมภาษณ์ถึงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า พบว่า ชุมชน/ผู้ประกอบมีการจัดจำหน่ายสินค้าที่หน้าร้าน และตลาดนัดเท่านั้น จึงเห็นควรเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย โดยการใช้เทคโนโลยี Platform การตลาดออนไลน์ เนื่องจากเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน สามารถใช้งานสะดวก เข้าถึงได้ง่าย ทำให้เหมาะสมแก่กลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการ
แนวทางในการขยายและพัฒนาช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมแก่กลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการ เนื่องจากเดิมกลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการ มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อยู่เพียงลักษณะเดียว คือการขายหน้าร้านและขายที่ตลาดนัด ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก การขยายและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายจึงมีความสำคัญ โดยดำเนินการ ดังนี้
1.1 เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังร้านค้า ร้านขายของฝากในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะร้านที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยว จุดพักรถต่างๆ โดยเริ่มต้นนำร่องจากร้านขายของฝากภายในอำเภอบ้านแหลม และภายในจังหวัดเพชรบุรี
1.2 เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เมืองหลักและเมืองรองของประเทศ เช่น กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
1.3 ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน เช่น งานแสดงสินค้า OTOP เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ผู้วิจัยได้ออกแบบชั้นวางสินค้า สำหรับใช้ในการประชาสัมพันธ์เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังร้านค้า ร้านขายของฝาก ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะร้านที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยว จุดพักรถต่างๆ โดยเริ่มต้นนำร่องจากร้านขายของฝากภายในอำเภอบ้านแหลม และภายในจังหวัดเพชรบุรี และสำหรับออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้น เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ซึ่งมีความเชื่อมโยงของโครงการย่อย 3 โครงการย่อย ได้แก่ 1) โครงการการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด 2) โครงการการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน และ 3) โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล โดยจุดเด่นของชั้นวางสินค้า ได้จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิด
ทำไมอาหารทะเลแปรรูป @ บ้านแหลม ต้องใช้โรงเรือนอบแห้ง?
เราร่วมพัฒนาโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร ภายใต้ชุดโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี” โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
และออกงานแสดงสินค้า
ผู้วิจัยได้เลือกใช้ Platform การตลาดออนไลน์ เป็นเว็บไซต์ร้านค้าสำหรับจำหน่ายสินค้า ในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการตลาดและการใช้งานร้านค้าออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางในการทำการตลาดออนไลน์บน Platform การตลาดออนไลน์ อื่นๆ ต่อไป
Platform การตลาดออนไลน์ http://www.banlaem-online.com มีจุดเด่น คือ ใช้งานง่าย ลูกค้าหรือผู้บริโภคเข้าถึงได้สะดวก ตกแต่งร้านค้าได้เองตามต้องการ มีระบบสั่งซื้อจากทุกช่องทาง สามารถขายผ่าน Platform การตลาดออนไลน์ อื่นๆ ได้ เช่น Lazada, Shopee และ Facebook Shop เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าหรือผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังออกใบส่งพัสดุและใบเสร็จได้ มี SSL ระบบความปลอดภัย และอื่นๆ อีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
(อาหารกุ้ง) และปุ๋ย (ดินหมักคุณภาพสูง)
5. สรุปผลการวิจัย
โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล เป็นโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี โดยมีการบูรณาการร่วมกับโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ (Up Stream) กลางน้ำ (Middle Stream) และปลายน้ำ (Down Stream) ซึ่งในส่วนของต้นน้ำ จะเชื่อมโยงกับโครงการการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใน 10 ตำบล ของ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โครงการสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ในการคิดค้นสูตรในกระบวนการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมที่มีมาตรฐาน โครงการการออกแบบและสร้างเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ โดยการสร้างเครื่องจักรที่มีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเหมาะสม โครงการการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด ในการสร้างโรงเรือนเพื่อใช้ในการอบแห้งอาหารทะเลแปรรูป ในส่วนของกลางน้ำ จะใช้โครงการการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล และในส่วนของปลายน้ำ จะใช้โครงการการพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ซื้ออาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล 2) เพื่อขยายและพัฒนาช่องทางการจำหน่ายอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล 3) เพื่อออกแบบและพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัล และ 4) เพื่อสร้างนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรชาวบ้าน โดยศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล นำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัล เพื่อขยายและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นในการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมกับพฤติกรรมของผู้บริโภค พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ ให้ความสนใจ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุด จนกระทั่งเกิดการแนะนำบอกต่อแก่บุคคลอื่น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองและแบ่งปันสู่สมาชิกในครัวเรือนหรือในกลุ่มชุมชนได้ รวมไปถึงการสร้างนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรชาวบ้าน เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมทางการตลาด และเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล สัมภาษณ์เชิงลึก สอบถามกลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการ และวิเคราะห์ TOWS Matrix จึงสรุปเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ดังนี้ 1) พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 2) พัฒนาฉลาก กราฟิก และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย 3) สร้างแบรนด์ สร้าง Storytelling ของแบรนด์ ดึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่น่าจดจำ 4) ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 5) ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดด้วยนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัล Platform การตลาดออนไลน์
แนวทางในการขยายและพัฒนาช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมแก่กลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 1) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังร้านค้า ร้านขายของฝากในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะร้านที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยว จุดพักรถต่างๆ 2) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เมืองหลักและเมืองรองของประเทศ เช่น กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 3) ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 4) ใช้ Platform การตลาดออนไลน์ “http://www.banlaem-online.com” โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี Platform การตลาดออนไลน์ ดังนี้ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี Platform การตลาดออนไลน์ ฝึกอบรมการใช้งาน Platform การตลาดออนไลน์ เพื่อให้ใช้งานได้จริง ให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำการตลาดออนไลน์
แนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายเชื่อมโยงกับตลาดในท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) ออกงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 2) นำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายที่ศูนย์จำหน่ายประจำท้องถิ่น เช่น ศูนย์แสดงและจำหน่าย OTOP เพื่อให้ผู้บริโภค หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวในแหล่งนั้นได้เลือกซื้อ 3) นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายที่ตลาดประชารัฐ/ตลาดวัฒนธรรม/ตลาดต้องชมของท้องถิ่น ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน 4) เข้าร่วมงานจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้า ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค เพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จัก 5) ประชาสัมพันธ์ผ่านนวัตกรรมทางการตลาดดิจิทัลเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในระยะแรก และ 6) เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ www.thaitambon.com และเว็บไซต์ของหน่วยงานต่างๆประจำท้องถิ่น เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง
ทีมนักวิจัย
นส.พัชรนันท์ ยังวรวิเชียร
นักวิจัย
นส.พัชรนันท์ ยังวรวิเชียร
นักวิจัย
โครงการย่อย : การพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา
- Phone:02-665-3777 ต่อ 8207
- Email:patcharanun.y@rmutp.ac.th
นางสาวชุติมา ชาตะรัตน์
นักวิจัย
นางสาวชุติมา ชาตะรัตน์
นักวิจัย
โครงการย่อย : การพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา
- Phone:02-665-3777 ต่อ 6643
- Email:chutima.c@rmutp.ac.th
นางสาวดวงฤทัย แก้วคำ
นักวิจัย
นางสาวดวงฤทัย แก้วคำ
นักวิจัย
โครงการย่อย : การพัฒนารูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา
- Phone:02-665-3777 ต่อ 8203
- Email:doungrouthai.k@rmutp.ac.th
ให้คะแนนนวัตกรรมนี้
คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 4.9 / 5. จำนวนการโหวต: 15
No votes so far! Be the first to rate this post.