RMUTP

แพลตฟอร์มการเรียนรู้

นวัตกรรมชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้


RMUTP community innovation learning platforms (RMUTP CILP)

นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน

1. ความเป็นมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ทำวิจัยเชิงพื้นที่เขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เช่น จังหวัด
เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม เป็นต้น โดยเป็นการทำวิจัยและทำบริการวิชาการลงพื้นที่ชุมชน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน แก้ไขปัญหาให้กับกลุ่ม ชุมชน ในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ภายหลังการลงพื้นที่เพื่อระดมความคิดร่วมกับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจและหน่วยงานในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการตอบรับและทำให้ทราบความต้องการของชุมชน ปัญหาของชุมชนเป็นเหตุให้เศษสิ่งเหลือใช้มีปริมาณมากขึ้นก่อให้เกิดปัญหาด้าน ขยะ หรือ ของเสีย ซึ่งเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสัตว์ ขยะหรือของเสียมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี นับเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนซึ่งต้องจัดการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่

2. บริบทปัญหาเชิงพื้นที่

ปัญหาของชุมชน จึงสามารถพัฒนาประเด็นการวิจัยได้ ด้วยการหนุนเสริมชุมชนนวัตกรรม ในเขตลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนปลาย หรือในเขตอำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและมีความต้องการของชุมชนที่อยู่ในตำบลต่าง ๆ ของพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเป็นชุมชนประมงขนาดใหญ่ และเป็นเส้นทางของแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย ดังภาพที่ 1.1 ประชาชนประกอบอาชีพหลัก คือ 1. อาชีพเกษตรกรรม 2. อาชีพทำขนมหวาน 3. ประมงน้ำเค็ม ซึ่งหากเฉพาะอาชีพประมงน้ำเค็ม พบว่า ประเด็นด้านขยะ ส่งผลกระทบโดยตรงกับแหล่งทำมาหากินของชาวประมง ขยะในแม่น้ำ ลำคลอง และในทะเล ดังภาพที่ 1.2 เป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ เช่น ขวดและถุงพลาสติกต่าง ๆ ขวดแก้วปิดฝา เป็นต้น ปัญหาใหญ่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งเป็นนโยบายสำคัญและเร่งด่วน ยกตัวอย่างหน่วยงาน อบต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยท่านนายกสมชัย วัฒนธรรม มีนโยบายเร่งด่วนในการบริหารจัดการขยะในแม่น้ำเพชรบุรีก่อนที่ขยะจะไหลลงสู่ทะเล และคัดแยกขยะเพื่อสร้างรายได้ นำขยะไปสู่กระบวนการรีไซเคิล นวัตกรรมทุ่นเก็บขยะและอุปกรณ์ส่วนต่อเพิ่มเพื่อความสะดวกในการเก็บขยะเป็นสิ่งที่หน่วยงานและชุมชนต้องการอย่างมาก

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทีมนักวิจัย จึงมีความสนใจที่จะออกแบบและสร้างทุ่นดักขยะพร้อมอุปกรณ์เสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายดาวเทียมชุมชนประมงน้ำเค็มอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ภาพที่ 1.2 ขยะในแม่น้ำ พื้นที่ทะเลแหล่งท่องเที่ยว และบนบกในจังหวัดเพชรบุรี

3. วัตถุดิบในพื้นที่ (อธิบายเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบ ระบุแหล่งซื้อขายวัตถุดิบ)

จากการลงพื้นที่ตำบลบางครก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก มีนโยบายในการจัดการขยะทั้งบนบกและในแม่น้ำลำคลอง ในพื้นที่และสนับสนุนโครงการนวัตกรรมเพื่อชุมชนด้านการกำจัดขยะเพื่อหนุนเสริมนโยบายและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

พื้นที่ตำบลบางครก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 34.21 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 21,384 ไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 12,236 ไร่ พื้นที่นา 5,268 ไร่ พื้นที่พืชสวน, ไม้ยืนต้น 3,706 ไร่ และพื้นที่บ่อกุ้ง, บ่อปลา 3,262 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับ ต.บ้านแหลม ต.บางตะบูน ต.บางตะบูนออก อ.บ้านแหลม ทิศใต้ติดต่อกับ ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม ต.บ้านกุ่ม ต.ธงชัย อ.เมือง ทิศตะวันออกติดต่อกับ ต.ท่าแร้ง ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม และทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.บางจาก อ.เมือง ต.หนองปลาไหล อ.เขาย้อย

ภาพที่ 1.3 แผนที่จังหวัดเพชรบุรี

4. แนวทางการออกแบบนวัตกรรม แสดงภาพอธิบายการทำงานเบื้องต้น

รูปภาพ ส่วนประกอบและมิติกระเช้ากักขยะ

การออกแบบชุดเครนยกขยะขึ้นบก เป็นการออกแบบตามข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับติดตั้งและข้อกำหนดให้สามารถยกน้ำหนักได้ขนาด 500 กิโลกรัม มีโครงสร้างที่สามารถทำได้ง่าย เบื้องต้นได้กำหนดตัวเสาของเครนใช้เป็นท่อเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว หนา 8 มิลลิเมตร เสาสูง 4 เมตร โคนเสาวางบนฐานเหล็กแผ่นหนา 20 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร เสริมความแข็งแรงด้วยเหล็กค้ำยันที่โคนเสาจำนวน 10 แผ่นรอบโคนเสา ส่วนตัวแขนยื่นเป็นเหล็กตัวไอขนาด 250×125 มิลลิเมตร ยาว 3.5 เมตร ติดตั้งต่ำจากยอดเสาลงมา 1.2 เมตร สามารถหมุนรอบเสาได้ 180 องศา บนแขนยื่นติดตั้งรอก 2 แกน สำหรับยกกระเช้ากักขยะขึ้นลงและเคลื่อนที่เข้าออกตามความยาวของแขน

หลังจากการร่วมกันออกแบบนวัตกรรมแล้ว คณะนักวิจัยจึงได้ทำการสร้างแบบจำลองชุดเครนขึ้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจำลองการทำงานภายใต้ภาระการยกน้ำหนัก 500 กิโลกรัม เพื่อให้ได้แบบชุดเครนที่มีความปลอดภัยสำหรับการใช้งานและทำแบบสั่งผลิตต่อไป จากการวิเคราะห์แบบจำลองชุดเครนยกขยะ

5. นวัตกรรมที่นำมาใช้ แสดงภาพแบบจำลองพร้อมคำอธิบายการทำงานเบื้องต้น

รูปภาพ ผลการวิเคราะห์ความแข็งแรงของแบบจำลองชุดเครนยกขยะ

การออกแบบชุดเครนยกขยะขึ้นบก เป็นการออกแบบตามข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับติดตั้งและข้อกำหนดให้สามารถยกน้ำหนักได้ขนาด 500 กิโลกรัม มีโครงสร้างที่สามารถทำได้ง่าย เบื้องต้นได้กำหนดตัวเสาของเครนใช้เป็นท่อเหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว หนา 8 มิลลิเมตร เสาสูง 4 เมตร โคนเสาวางบนฐานเหล็กแผ่นหนา 20 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร เสริมความแข็งแรงด้วยเหล็กค้ำยันที่โคนเสาจำนวน 10 แผ่นรอบโคนเสา ส่วนตัวแขนยื่นเป็นเหล็กตัวไอขนาด 250×125 มิลลิเมตร ยาว 3.5 เมตร ติดตั้งต่ำจากยอดเสาลงมา 1.2 เมตร สามารถหมุนรอบเสาได้ 180 องศา บนแขนยื่นติดตั้งรอก 2 แกน สำหรับยกกระเช้ากักขยะขึ้นลงและเคลื่อนที่เข้าออกตามความยาวของแขน

หลังจากการร่วมกันออกแบบนวัตกรรมแล้ว คณะนักวิจัยจึงได้ทำการสร้างแบบจำลองชุดเครนขึ้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจำลองการทำงานภายใต้ภาระการยกน้ำหนัก 500 กิโลกรัม เพื่อให้ได้แบบชุดเครนที่มีความปลอดภัยสำหรับการใช้งานและทำแบบสั่งผลิตต่อไป จากการวิเคราะห์แบบจำลองชุดเครนยกขยะ

การวิเคราะห์แบบจำลองชุดเครนภายใต้เงื่อนไข น้ำหนักขยะรวมกระเช้ากักขยะ 500 กิโลกรัม น้ำหนักรอก 50 กิโลกรัม และน้ำหนักตัวเครนภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก วัสดุทำเครน AISI 1045 Steel Cold Drawn (SS)  รูปแบบวิเคราะห์ทางไฟไนท์เอลิเมนต์ แบบ 10 nodes tetrahedral element type ขนาดเอลิเมนต์ (element size) 20 mm จำนวนเอลิเมนต์รวม (Total Elements) 144,795 เอลิเมนต์ และจำนวนโนดรวม (Total Nodes) 281,942 โนด ผลการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเครนเกิดความเค้นสูงสุด (Max stress (von-misses) 145 MPa และค่าการโก่งตัวสูงสุด (Max Deflection) 24 mm ที่ตำแหน่งปลายคาน ค่าความปลอดภัย (Safety factor) 3.6 ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง จึงใช้แบบและขนาดนี้สั่งผลิตต่อไป

เงื่อนไขและข้อจำกัดในการออกแบบทุ่นดักขยะในแม่น้ำเพชรบุรีจากการระดมความคิดกับผู้นำชุมชนและผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งประเด็นหลักของการออกแบบคือพื้นที่การติดตั้งอุปกรณ์ยกขยะขึ้นจากแม่น้ำและทุ่นดักขยะ กล่าวคือ อุปกรณ์ยกขยะจะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอในการยกขยะที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัม และจะต้องติดตั้งกับแนวเขื่อนที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบางครกในจัดสร้างไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้การออกแบบนวัตกรรมมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการใช้งานที่ง่ายและไม่มีวิธีการที่ซับซ้อนมากนัก เพื่อให้เหมาะสมกับการที่นักนวัตกรชุมชนต้องเรียนรู้และนำไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านในชุมชน อันจะทำให้นวัตกรรมดังกล่าวถูกใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและทำการสร้างพร้อมติดตั้งแล้วเสร็จทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนแรกแนวทุ่นดักขยะ ส่วนประกอบที่สองของนวัตกรรมคือกระเช้ากักขยะ และส่วนประกอบสุดท้ายของนวัตกรรมคือชุดเครนสำหรับยกขยะจากแม่ย้ำขึ้นบกติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน และผลของการติดตั้งส่วนประกอบทั้งสามของนวัตกรรมทุ่นดักขยะ

ก. กระเช้ากักขยะ
ข. โซ่ยกกระเช้ากักขยะ
รูปภาพ ชุดเครนยกขยะจากแม่น้ำขึ้นบก
รูปภาพ นวัตกรรมทุ่นดักขยะด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

6. สรุปผลการวิจัย

ในการดำเนินงานวิจัยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น สิ่งสำคัญคือทีมนักวิจัยต้องลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนให้เป็นทีมงานเดียวกัน โดยการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัด หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้มีการจัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจตั้งแต่การเลือกสถานที่ติดตั้งทุ่นดักขยะ การออกแบบและการกำหนดเงื่อนไขการใช้งานของทุ่นดักขยะ ร่วมกันเพื่อให้เกิดผลสำเร็จและมีคุณค่าต่อชุมชนมากที่สุด ซึ่งทุ่นดักขยะจะมีความเหมาะสมที่จะใช้ในระดับชุมชน จนได้รูปแบบนวัตกรรมที่ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรก คือ แนวทุ่นดักขยะยาว 15 เมตรวางทำมุมขวางลำน้ำ 30 องศากับตลิ่ง จำนวน 2 แนว วางกลับด้านกันสำหรับกรณีน้ำขึ้นและน้ำลง ทำหน้าที่ดักขยะที่ไหลมาตามสายน้ำในระดับเหนือผิวน้ำและจมน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร เพื่อให้มารวมกันในส่วนประกอบที่ 2 คือ กระเช้ากักขยะ ส่วนนี้จะรับขยะที่ทุ่นดักขยะกั้นไว้ได้มากักขยะไว้ไม่ให้ไหลต่อไปตามกระแสน้ำ และส่วนประกอบที่ 3 ได้แก่ ชุดเครนสำหรับยกกระเช้ากักขยะขึ้นฝั่งเพื่อทิ้งขยะบริเวณชายฝั่ง จากนั้นจะยกกระเช้ากักขยะไปวางไว้ในแม่น้ำตำแหน่งเดิม

จากการสร้างนวัตกรรมทุ่นดักขยะในแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งติดตั้ง ณ ตำแหน่งพิกัด 13°10’24.2″N 99°57’09.6″E ตามแผนที่ google map เป็นตำแหน่งก่อนแม่น้ำเพชรบุรีจะแยกออกเป็นสองสาย คือ สายหนึ่งจะไหลลงสู่ทะเลบริเวณปากอ่าวบ้านแหลม และอีกสายหนึ่งไหลลงทะเลที่ปากอ่าวบางตะบูน จากการจัดเก็บขยะขึ้นจากแม่น้ำเพชรบุรีด้วยนวัตกรรมทุ่นดักขยะที่สร้างขึ้นสามารถลดขยะลงสู่ทะเลได้ประมาณ 24 ตันต่อปี ซึ่งขยะในแม่น้ำเหล่านี้ จำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรกขยะที่เป็นวัชพืชทางน้ำได้แก่ผักตบชวา มีปริมาณโดยน้ำหนัก คิดเป็นร้อยละ 45 ประเภทที่สองขยะจากครัวเรือน เช่น เก้าอี้ โซฟา ที่นอน และของใช้อื่น คิดเป็นร้อยละ 4 ประเภทที่สามขยะจำพวกพลาสติก ได้แก่ ขวดพลาสติก แกลลอนและถุงพลาสติก เป็นต้น พบร้อยละ 18 และประเภทสุดท้ายขยะจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ กิ่งไม้และท่อนไม้ พบจำนวนร้อยละ 33 ซึ่งขยะเหล่านี้หลังเก็บขึ้นมาจากแม่น้ำแล้วทางองค์การบริหารส่วนตำบลบางครกได้วางแนวทางดำเนินการเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ไว้ดังนี้ เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเพื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก ผู้ประกอบอาชีพเก็บของเก่า และผู้ประกอบอาชีพเผาถ่าน และส่วนที่เหลือองค์การบริหารส่วนตำบลบางครกดำเนินการจัดเก็บไปกำจัดต่อไป

ทีมนักวิจัย

ให้คะแนนนวัตกรรมนี้

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน

คะแนนเฉลี่ย 4.8 / 5. จำนวนการโหวต: 13

No votes so far! Be the first to rate this post.