RMUTP

แพลตฟอร์มการเรียนรู้

นวัตกรรมชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้


RMUTP community innovation learning platforms (RMUTP CILP)

ความเป็นมา

ชื่อชุดโครงการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี

การดำเนินงานวิจัยและบริการวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เพื่อรับทราบความต้องการ ปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องในเขตภาคกลางตอนล่าง ประกอบกับพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนปลาย ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจและแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ดังนั้น 10 ตำบล ในเขตอำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี จึงถูกเลือกเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการ ทั้งนี้ อาชีพหลักของชุมชนเป้าหมาย คือ เกษตรกรรม ทำขนมหวาน และประมงน้ำเค็ม ซึ่งทั้ง 3 อาชีพมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน อย่างไรก็ตาม ภายใต้การดำเนินวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพด้วยในรูปแบบเดิม ๆ ของชุมชนดังกล่าวที่ผ่านมานั้น กลับมีภาพสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกันที่น่าสนใจสรุปได้ 2 ประเด็นหลักได้แก่ ประเด็นด้านขยะและประเด็นด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป โดยทั้ง 2 ประเด็นมีจุดเชื่อมโยงของปัญหา กล่าวคือ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ชุมชนเป้าหมายยังคงมีการดำเนินวิถีชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพแบบไร้ซึ่งเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในระดับชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนในอย่างที่ควรจะเป็นจุดเชื่อมโยงดังกล่าวนี้

ภายใต้การดำเนินการวิจัยประกอบไปด้วย 9 โครงการย่อย คือ 1) การสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 2) การออกแบบและสร้างเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 3) การออกแบบและสร้างระบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเกษตรอินทรีย์ 4) การออกแบบและสร้างเตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน 5) การออกแบบและสร้างทุ่นดักขยะพร้อมอุปกรณ์เสริมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน 6) การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 7) การพัฒนารูปแบบการตลาดแบบ มีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล 8) การออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด และ 9) การจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใน 10 ตำบล ของ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ผลลัพธ์จากโครงการย่อยดังกล่าวจะก่อให้เกิดนวัตกรรมทั้งสิ้น 15 นวัตกรรม ได้แก่ 1) นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร) 2) นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 3) นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน 4) นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน 5) นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน 6) นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย 7) นวัตกรรมเตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน 8) นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล 9) นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน 10) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 11) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ 12) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล 13) นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล 14) นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด และ 15) นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม ร้อยเรียงโครงการย่อยทั้ง 8 เข้าด้วยกันเพื่อสร้าง Learning and innovation platform และการจัดการการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองต่อ OKR ของ Platform และ Program ประกอบด้วย 1) มี 10 ตำบล นับรวมได้ 15 นวัตกรรม กระจายในต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ที่จะเพิ่มขีดความสามารถจากการเป็นต้นน้ำให้เป็นกลางน้ำด้วย หรือเพิ่มขีดความสามารถเป็นทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ 2) สร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน จำนวน 20 นักวิจัย/นวัตกร 3) สร้างรูปธรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 4) มีอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 นอกจากนี้ในทุกชุมชนจะเกิดการสร้าง Learning and innovation platform, การถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย และได้นวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาตำบล/ท้องถิ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับแผนพัฒนาจังหวัด