- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับโครงการ
- ทำเนียบผู้บริหาร
- นวัตกรรมชุมชน
- นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
- นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน
- นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
- นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย
- เตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน
- นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล
- นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
- นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
- นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
- นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
- แบบนวัตกรรมเครื่องจักร
- คลังภาพ
- KM
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 1 สูตรอาหารกุ้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 2 เครื่องผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 3 ระบบผลิตปุ๋ยอินทรี
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 4 เตาเผาขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 5 ทุ่นดักขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 6 บรรจุภัณฑ์
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 7 การตลาด
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 8 โรงอบแห้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 9 การจัดการ
- หลักสูตรพัฒนานักนวัตกร
- คู่มือการใช้งาน
- ติดต่อเรา
- ไทย
นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
1. ความเป็นมา
ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจประกอบอาชีพหลัก คือ การเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง และปลา สร้างรายได้มากกว่าปีละ 5 พันล้านบาท แต่กลับพบว่าเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคน ต่อปี 57,399 บาท หรือคิดเป็นเดือนละ 4,783.25 บาท และจากคำนิยามของคำว่าผู้ยากไร้ กลุ่มยากจนที่สุดของประเทศตามเกณฑ์นั้นมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี หรือตกเดือนละ 2,500 บาท คิดหารออกมาแล้วมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 83 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนของเกษตรกรอำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี พบว่าอยู่ในกลุ่มยากจนของประเทศ ซึ่งจากการลงพื้นที่ของทีมนักวิจัยนั้น พบว่าเกษตรกรต้องการส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพที่แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคและมีน้ำหนักที่มากจึงทำให้ต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจของเกษตรกรนั้นอยู่ที่ค่าอาหาร ค่ายาและค่าสารเคมีเพื่อการป้องกันโรค คิดเป็นร้อยละ 70 ของราคาขาย ประกอบกับเกษตรกรเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจในรูปแบบเดิม ๆ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนในอย่างที่ควรจะเป็นขาดความรู้ในการจัดการอาหารเสริมที่เป็นสารเติมลงไปในอาหารเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพ
การสร้างนวัตกรรมอาหารสุขภาพเพื่อสัตว์เลี้ยงสามารถแก้ปัญหาชุมชนบนฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนด้วยคนในชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนสามารถต่อยอด พัฒนาขึ้นได้เองต่อไป และมีการส่งถ่ายชุดความรู้จากการวิจัยทั้งหมดที่ใช้สร้างนวัตกรรม เมื่อชุมชนสามารถสร้างนวัตกรรมและต่อยอดได้เองแล้ว นวัตกรรมก็จะถูกยกระดับ ชุมชนก็จะมีศักยภาพในการสร้างความเข้มแข็งและสร้างเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อไป
2. บริบทปัญหาเชิงพื้นที่
ต้นทุนหลักในการเลี้ยงกุ้งเกิดจากค่าอาหารสูงถึง ร้อยละ 70 และการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่เพชรบุรี เป็นการเลี้ยงกุ้งกึ่งธรรมชาติใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 90 วัน โดยกุ้งจะมีขนาดขนาด 25-30 ตัว/กิโลกรัม ปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง คือการติดโรคขอกุ้งและกุ้งไม่กินอาหารมากที่สุด ซึ่งจะทำให้กุ้งตาย มีขนาดเล็กไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ และหากเกิดการติดโรคจะทำให้กุ้งตายยกบ่อและจำเป็นต้องจับกุ้งขายยกบ่อซึ่งทำให้ขายไม่ได้ราคาและขาดทุนถึงร้อยละ 80 ของการลงทุนในแต่ละครั้งโดยประมาณ
3. วัตถุดิบในพื้นที่ (อธิบายเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบ ระบุแหล่งซื้อขายวัตถุดิบ ถ้ามี)
เชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์เป็นเชื้อที่คัดแยกจากในพื้นที่ และใช้วัตถุดิบหลักที่เหลือจากกระบวนการแปรรูปอาหารทะเล และพืชผัก เป็นส่วนผสมของอาหารกุ้ง ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งในชุมชนให้เกิดประโยชน์และกับมามีมูลค่าสูงขึ้นผ่านเครื่องมืองานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
4. แนวทางการออกแบบนวัตกรรม
- ศึกษาและพัฒนาสายพันธ์ของเชื้อจุลินทรีย์ ยีสต์ รา แบคทีเรีย ที่เหมาะในการผลิตโพรไบโอติกในสภาวะต่าง ๆ
- ศึกษาสูตรพื้นฐานและกรรมวิธีการผลิตสารเสริมในอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์โพรไบโอติกเพื่อเป็นสารเสริมในอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจใน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
5. นวัตกรรมที่นำมาใช้ แสดงภาพแบบจำลองพร้อมคำอธิบายการทำงานเบื้องต้น
จากผลการทดลองเลี้ยงพบว่า
การใช้สูตรอาหารเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรในบ่อทดลอง สามารถลดระยะเวลาในการเลี้ยงกุ้งลงได้จาก 90 วัน เป็น 60 วัน กุ้งมีขนาด 50 ตัว/กิโลกรัม กุ้งสามารถค้นพบอาหารได้ไว้ขึ้น ร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับอาหารที่สูตรปกติ กุ้งมีขนาดโตขึ้น ร้อยละ 5.43 เมื่อเลี้ยงครบระยะเวลา 90 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เลี้ยงปกติและนำวิธี Square method balance เปรียบเทียบการคำนวนมาเทียบกับคุณค่าทางอาหารของปลาดุกสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆที่เลี้ยงในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรีจะได้สูตรอาหารดังนี้
สูตรอาหารปลานิล 1
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
รำละเอียด | 77.0 |
ปลาป่น | 23.0 |
สูตรอาหารปลานิล 2
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่นอัดน้ำมัน | 12 |
กากถั่วลิสงป่น | 6 |
รำละเอียด | 41 |
ปลายข้าวบดหรือมันเส้นบด | 40 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1 |
สูตรอาหารปลาดุกใหญ่
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่นอัดน้ำมัน | 17 |
กากถั่วเหลืองป่น | 17 |
กากถั่วลิสงป่น | 18.4 |
รำละเอียด | 22 |
ปลายข้าว | 24 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1.6 |
สูตรอาหารปลาดุกเล็กถึงขนาดกลาง
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่นอัดน้ำมัน | 23 |
กากถั่วเหลือง | 23 |
กากถั่วลิสง | 23 |
รำละเอียด | 14 |
ปลายข้าว | 15.4 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1.6 |
สูตรอาหารลูกปลาดุกด้าน ลูกปลาดุกอุย และลูกปลาช่อน
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่นอัดน้ำมัน | 56 |
รำละเอียด | 12 |
กากถั่วลิสงป่น | 12 |
แป้งเหนียว | 14 |
น้ำมันปลา | 4 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1.6 |
สารเหนียว | 0.4 |
สูตรอาหารลูกปลาดุกด้าน ลูกปลาดุกอุย และลูกปลาช่อน
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่นอัดน้ำมัน | 56 |
รำละเอียด | 12 |
กากถั่วลิสงป่น | 12 |
แป้งเหนียว | 14 |
น้ำมันปลา | 4 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1.6 |
สารเหนียว | 0.4 |
สูตรอาหารปลาดุก ปลาช่อน
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่น | 10 |
เปลือกกุ้งป่น | 25 |
กากถั่วลิสง | 5 |
กากถั่วเหลือง | 5 |
รำละเอียด | 27 |
รำถั่วเขียว | 27 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1 |
สูตรอาหารกุ้ง
วัสดุ | เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก |
---|---|
ปลาป่น | 10 |
เปลือกกุ้ง | 25 |
กากถั่วลิสง | 5 |
กากถั่วเหลือง | 5 |
ปลายข้าว | 25 |
รำละเอียด | 25 |
น้ำมันปลา | 4 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX) | 1 |
สูตรอาหารปลา 100 กิโลกรัม ลดต้นทุน (โปรตีน 40%)
ชนิดวัตถุดิบ | %โปรตีน | ปริมาณที่ใช้ กก. | ราคาวัตถุดิบ บาท/กก.* |
---|---|---|---|
ปลาป่น | 58 | 24 | 32 |
มันเส้นบด | 3 | 14 | 8 |
โปรตีนข้าวโพดสกัด (Corn gluten) | 68 | 30 | 28 |
กากเมล็ดทานตะวันสกัดน้ำมัน | 21 | 25 | 15 |
ยีสด์ (Saccharomyces serivisae) | 45 | 1 | 90 |
น้ำมันถั่วเหลือง | 2 | 42 | |
น้ำมันปาล์ม | 2 | 42 | |
เกลือทะเลป่นละเอียด (ที่มีการเสริมไอโอดีน) | 1 | 1 | 25 |
วิตามิน + แร่ธาตุ(RMUTP PREMIX)** | 1 | 3 | |
รวม | 100 |
สรุปผลการวิจัย
1.เชื้อจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้เป็นเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เกษตรกรได้เพาะเลี้ยงอยู่แล้ว โดยได้จากนายสมศักดิ์ สอนขาว ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในการพื้นที่ อ.บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีชื่อเรียกว่า น้ำแดง ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์โพไปโอติก เป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม น้ำทะเลสาบที่มีความเป็นด่าง น้ำที่มีความเป็นกรด
นอกจากนี้ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบําบัดน้ำเสีย (levett, 1990; Imhoff, 1992; Brock, 1994) บทบาทของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงมีความสําคัญในกระบวนการนําก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO2 – assimilation) และการตรึงไนไตรเจน (nitrogen fixation) นอกจากนี้ยังมีบทบาทสําคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งสัตว์ขนาดเล็ก ปลา กุ้ง หอย และปูสามารถนําแบคทีเรียสังเคราะห์แสงมาใช้เป็นอาหารได้
โดยทั่วไปจะแบ่งแบคทีเรียสังเคราะห์แสงออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วง (purple photosynthetic bacteria) และ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีเขียว (green photosynthetic bacteria) (Pfenning และ Truper, 1989; Kobayashi, 2000)
1. แบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วง (purple photosynthetic bacteria) แบคทีเรียสังเคราะห์แสงในวงศ์ Chromatiaceae ซึ่งเป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วง (รูปที่ 2) พบว่า สามารถเจริญได้ดีในสภาพโฟโตออโตโทรฟ (photoautotroph) ซึ่งสามารถใช้สารประกอบซัลเฟอร์ซัลไฟต์และไทโอ ซัลเฟตเป็นตัวรับอิเล็กตรอนเพื่อรีดิวซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นสารอาหารภายในเซลล์ได้(Imhoff, 1992; Van Niel, 1944) แสดงสมการดังนี้ และแบคทีเรียสังเคราะห์แสงในวงศ์ Chromatiaceae จะสะสมกํามะถันไว้ในเซลล์ CO2 +2H2S (CH2O)+H2O+2S S+CO2+3H2O (CH2O)+H2SO4+H2 2CO2 +Na2S2O3+3H2O 2(CH2O)+ Na2SO4 + H2SO4 แบคทีเรียสังเคราะห์แสงในวงศ์ Rhodospirillaceae (รูปที่ 2) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มที่ไม่สามารถใช้ซัลไฟด์เป็น ตัวให้อิเล็คตรอนเพื่อรีดิวซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นสารอาหารภายในเซลล์ได้ และมีการสันดาป (metabolism) ดีกว่าแบคทีเรียมีวงที่ใช้ซัลเฟอร์เนื่องจากสามารถเจริญได้ทั้งแบบโฟโตเฮเทอโรโทรฟ และโฟโตออโตโทรฟ โดยใช้ก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นตัวให้อิเล็กตรอน ซึ่งส่วนใหญ่แบคทีเรียกลุ่มนี้จะทนต่อสภาพที่มีออกซิเจน จึงสามารถเจริญได้ ภายใต้สภาวะแบบเฮเทอโรโทรฟที่มีอากาศ-ไม่มีแสง มีแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์เอ และแคโรทีนอยด์ หลายชนิดในการ สังเคราะห์แสง
2. สูตรพื้นฐานและกรรมวิธีการผลิตสารเสริมในอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์โพรไบโอติกเพื่อเป็นสารเสริมในอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจใน อ.บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีสูตรพื้นฐานในอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจพี่ได้มีส่วนผสมที่สำคัญคือ เศษปลาป่น ไส้ปลาป่น กากถั่วเหลือง ปลายข้าวหัก เศษธัญพืชประเภทถั่ว กล้วยน้ำว้าสุก สูตร rmutt พรีมิกซ์ และโพรไบโอติกจุลินทรีย์น้ำแดงนำส่วนผสมที่สำคัญทั้งหมด ผสมเข้าด้วยกันแล้วนำไปใส่ในเครื่องอัดรีดร้อนที่ได้จากผลงานวิจัยของโครงการย่อยที่ 2 เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพแนะนำไปทดลองเลี้ยงในลำดับต่อไปผลจากการทดลองเลี้ยงพบว่าสามารถใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 60 วันให้ขนาดของกุ้งอยู่ที่ 50 ตัวต่อกิโลกรัมกุ้งเข้าจับอาหารได้ไวขึ้น 15% ลดต้นทุนค่าอาหารลงได้ประมาณ 16.8 เปอร์เซ็นต์แล้วได้คุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญคือโปรตีนสูงถึงร้อยละ 35 ถึง 39 ซึ่งจากผลการทดลองนี้อาหารกุ้งจึงเหมาะสมกับการเลี้ยงในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นระยะที่โตแล้วเนื่องจากกุ้งเมื่อโตแล้วจะมีความต้องการโปรตีนในอาหาร
3. เมื่อนำมาวิเคราะห์อาหารที่ได้จากนวัตกรรมจากโครงการย่อยทั้งสองสามารถลดทุนลดรายจ่ายค่าอาหารกุ้งขาวได้ถึง 20,210 บาท/บ่อ ผลต่างต้นทุนอาหารที่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 26.1 เมื่อคิดผลตอบแทนของการลงทุน (ROI) จะอยู่ที่ร้อยละ 35.3 และต้นทุนของการเลี้ยงปลาดุกที่ได้จากนวัตกรรมจากโครงการย่อยทั้งสองสามารถลดทุนลดรายจ่ายค่าอาหารของการเลี้ยงปลาดุกได้ถึง 21,420 บาท/บ่อ ผลต่างต้นทุนอาหารที่ลดลง คิดเป็นร้อยละ 12.9 เมื่อคิดผลตอบแทนของการลงทุน (ROI) จะอยู่ที่ร้อยละ ร้อยละ 14.8 หากพิจารณาการลดลงของรายจ่ายภาพรวมจะพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนลดลงคิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 19.5 ซึ่งถือว่าบรรลุเป้าหมายของโครงการ จากเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้ ร้อยละ 10
4. การถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจเนื่องด้วยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ทำให้คณะนักวิจัยไม่สามารถลงพื้นที่แล้วทำการจัดโครงการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมอาหารเพื่อการสัตว์เลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจได้จึงได้ทำการปรับรูปแบบวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่โดยใช้นักวิจัยชาวบ้านหรือนักนวัตกรชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการและได้รับการถ่ายทอดรวมถึงการเรียนรู้กระบวนการผลิตกระบวนการทำและแนวคิดร่วมกับนักวิจัยตั้งแต่เริ่มโครงการวิจัยจนถึงสิ้นสุดลงสู่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อเป็นเป็นไปตามมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19โดยมีผลการประเมินความเพิ่งพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ประเด็นคำถามโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และความพึงพอใจด้านคุณภาพการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 4.358 ส่วนประเด็นคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ วัน/ระยะเวลา/สถานที่ โดยมีค่าเฉลี่ย 3.85อย่างไรก็ตาม ความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ ถือว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.30
5. สร้างนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรชาวบ้านในการสร้างนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรรมชาวบ้านจะทำการคัดเลือก ใช้วิธี และนวัตกรชาวบ้านร่วมกับโครงการย่อยที่ 2 การออกแบบและสร้างเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์เนื่องจากนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรชาวบ้านต้องสามารถดำเนินการผสมสูตรการหมักเชื้อจุลินทรีย์และการคิดคำนวณสูตรอาหารและการใช้เครื่องอัดรีดร้อนในการทำเป็นอาหารสัตว์ได้อย่างครบวงจรโดยการวิจัยครั้งนี้มีนวัตกรชาวบ้านที่ผ่านการคัดเลือกและสามารถผสมสูตรรวมถึงเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์น้ำแดงได้จำนวนทั้งสิ้น 3 คน ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ สอนขาว นายสุชาติ รุ่งเพียร และนายสำราญ อ่วมอั๋น
ทีมนักวิจัย
ผศ.ดร. ธนภพ โสตโยม
นักวิจัย
ผศ.ดร. ธนภพ โสตโยม
นักวิจัย
โครงการย่อย : การสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
หน่วยงาน : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- Phone:02-665-3777 ต่อ 5233
- Email:thanapop.s@rmutp.ac.th
ผศ. เชาวลิต อุปฐาก
นักวิจัย
ผศ. เชาวลิต อุปฐาก
นักวิจัย
โครงการย่อย : การสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
หน่วยงาน : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- Phone:02-665-3777 ต่อ 5522
- Email:chaowalit.a@rmutp.ac.th
นางสาวนิอร ดาวเจริญพร
นักวิจัย
นางสาวนิอร ดาวเจริญพร
นักวิจัย
โครงการย่อย : การสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
หน่วยงาน : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- Phone:02-665-3777 ต่อ 5231
- Email:nion.d@rmutp.ac.th
ให้คะแนนนวัตกรรมนี้
คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 4.8 / 5. จำนวนการโหวต: 20
No votes so far! Be the first to rate this post.