- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับโครงการ
- ทำเนียบผู้บริหาร
- นวัตกรรมชุมชน
- นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
- นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน
- นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
- นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย
- เตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน
- นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล
- นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
- นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
- นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
- นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
- แบบนวัตกรรมเครื่องจักร
- คลังภาพ
- KM
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 1 สูตรอาหารกุ้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 2 เครื่องผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 3 ระบบผลิตปุ๋ยอินทรี
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 4 เตาเผาขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 5 ทุ่นดักขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 6 บรรจุภัณฑ์
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 7 การตลาด
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 8 โรงอบแห้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 9 การจัดการ
- หลักสูตรพัฒนานักนวัตกร
- คู่มือการใช้งาน
- ติดต่อเรา
- ไทย
นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
1. ความเป็นมา
โครงการ “การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อการจัดการและสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดเพชรบุรี” นี้ จะเป็นโครงการวิจัยชุดประเภท Flagship ที่ 20 ในเรื่อง ชุมชนนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน โดยจากการที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้พัฒนาโครงการร่วมกับสถานประกอบการและชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม “ความคิด ร่วมทำ ร่วมผลประโยชน์” ซึ่งเป้าหมายเป็นกลุ่มวิสาหกิจและหน่วยงานในพื้นที่ จึงทำให้ทราบความต้องการของชุมชน ปัญหาของชุมชนมาพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์เศรษฐกิจของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีต้นทุนจากปลา หอยและสัตว์น้ำในทะเลและนับว่าเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์นั้นมีการขยายตัวอย่างมาก หรืออาจกล่าวได้ว่า ในปัจจุบัน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลของจังหวัดเพชรบุรีนั้น ผลิตเพื่อป้อนตลาดต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ทำให้มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล นั้นก่อให้เกิดผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมมากมาย โดยผู้ประกอบการเหล่านี้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยแนวคิดความทันสมัยและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเจ้าของฟาร์มสัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญต่ออนาคตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและเพื่อการดำรงอยู่ของอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล อำเภอ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จะต้องพัฒนากลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ให้สามารถพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน โดยสามารถแข่งขันกับตลาดคู่แข่งรายอื่น ๆ ได้รวมทั้งสามารถพัฒนาให้ส่งสินค้าออกไปจำหน่าย ยังต่างประเทศได้ โดยจะต้องอาศัยปัจจัย ในการตลาดเป็นเหตุให้ผู้ประการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลส่วนใหญ่ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำประสบปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะขาดความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพที่ตลาดส่วนใหญ่ต้องการ แต่คุณภาพและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ยังมีลักษณะไม่ดี โดยบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ปัจจุบันไม่ทำหน้าที่บรรจุและคุ้มครองป้องกันสินค้าให้ปลอดภัยจนไปยังผู้บริโภค สุดท้ายสิ่งเหล่านี้เป็นผลให้กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ยังมีปัญหาซึ่งไม่สามารถพัฒนาไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าความสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน โดยสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมาตรฐานเพื่อนำไปปรับระบบกลไกการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ทางด้านการจัดจำหน่าย โดยศึกษาหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชนให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างนวัตกรรมชุมชนให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชน ผู้ประกอบการ โดยนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกออกแบบและสร้างบนฐานเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถต่อยอด พัฒนาขึ้นได้เองต่อไป และมีการส่งถ่ายชุดความรู้จากการวิจัยทั้งหมดที่ใช้สร้างนวัตกรรม เมื่อชุมชนสามารถสร้างนวัตกรรมและต่อยอดได้เองแล้ว นวัตกรรมก็จะถูกยกระดับ ชุมชนก็จะมีศักยภาพในการสร้างความเข้มแข็งและสร้างเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อไป
2. บริบทปัญหาเชิงพื้นที่
ผู้ประการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลส่วนใหญ่ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำประสบปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะขาดความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพที่ตลาดส่วนใหญ่ต้องการ แต่คุณภาพและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ยังมีลักษณะไม่ดี โดยบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ปัจจุบันไม่ทำหน้าที่บรรจุและคุ้มครองป้องกันสินค้าให้ปลอดภัยจนไปยังผู้บริโภค สุดท้ายสิ่งเหล่านี้เป็นผลให้กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ยังมีปัญหาซึ่งไม่สามารถพัฒนาไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างเป็นระบบเพื่อความยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่พึงพอใจส่วนมากจะมีเฉพาะพวกปลาอินทรีย์ ปัญหาเรื่องกลิ่นบางครั้งลูกค้าก็จะไม่พึงพอใจกับกลิ่นปลาอินทรีย์ โดยจะแก้ปัญหาบรรจุให้ 2 ชั้น แล้วมีมะกรูดแถมติดไปด้วยเพื่อการดับกลิ่นแต่ถ้าลูกค้าเป็นกังวลมาก ๆ ก็จะทำการซีลสุญญากาศให้กับลูกค้าเพื่อตัดปัญหาของกลิ่น หรือบางอย่าง เช่น สินค้าที่พร้อมรับประทานก็จะบรรจุในกล่อง และสามารถนำไปเข้าเครื่องไมโครเวฟได้ทันที ในส่วนของบรรจุภัณฑ์นั้น ต้องการให้ปกป้องผลิตภัณฑ์ให้ให้มีการคงสภาพเดิมได้นานและง่ายต่อการขนส่ง
3. วัตถุดิบในพื้นที่ (อธิบายเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบ ระบุแหล่งซื้อขายวัตถุดิบ ถ้ามี)
–
4. แนวทางการออกแบบนวัตกรรม
4.1 ศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โดยใช้หลักกระบวนทัศน์
4.2 ออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลโดยประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่นสร้างเป็นเรขาศิลป์ ดังภาพที่ 1
4.3 ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนโดยคำนึงถึงรูปแบบการผลิต ความสวยงาม การใช้สอย ความเข้ากันได้กับเครื่องจักร และใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4.4 ทดสอบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อบรรจุภัณฑ์ที่ได้พัฒนาแล้วนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์
5. นวัตกรรมที่นำมาใช้ แสดงภาพแบบจำลองพร้อมคำอธิบายการทำงานเบื้องต้น
จากที่ทีมนักวิจัยได้แก้ไข ปรับปรุงข้อเสนอแนะตามที่หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ประกอบการ ร่วมกันประชาพิจารณ์และได้สรุปแบบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ และประเมินได้ดังนี้
(หอยลายปรุงรส) ขนาด 4 x 21 ซม.
(หอยลายปรุงรส) ขนาด 6 x 27 ซม.
ออกแบบบรรจุภัณฑ์
1. ลักษณะของกราฟิกที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
2. ลักษณะของรูปแบบสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
3. ลักษณะของสีที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
4. การออกแบบในส่วนของตราสัญลักษณ์ (LOGO) สำหรับบรรจุภัณฑ์หมึกตากแห้ง
1. ลักษณะของกราฟิกที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
2. ลักษณะของรูปแบบสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
3. ลักษณะของสีที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
4. การออกแบบในส่วนของตราสัญลักษณ์ (LOGO) สำหรับบรรจุภัณฑ์ปลาวงตากแห้ง
1. ลักษณะของกราฟิกที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
2. ลักษณะของรูปแบบสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
3. ลักษณะของสีที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
4. การออกแบบในส่วนของตราสัญลักษณ์ (LOGO) สำหรับบรรจุภัณฑ์ปลาวงตากแห้ง
ทีมนักวิจัยร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม แหลมผักเบี้ย ปากทะเล และผู้ประกอบการ ร่วมกันประชาพิจารณ์แบบบรรจุภัณฑ์ ที่นักวิจัยได้ออบแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ได้แก่ ปลาหมึกตากแห้ง ปลาวงตากแห้ง และหอยลายปรุงรส จำนวนชนิดละ 2 แบบ ที่เกิดจากความคิดสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอบ้านแหลม ในด้านลักษณะของกราฟิกที่สื่อถึงเอกลักษณ์ ด้านลักษณะของรูปแบบสัญลักษณ์ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ ด้านลักษณะของสีที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ และการออกแบบในส่วนของตราสัญลักษณ์ (LOGO)
6. สรุปผลหารวิจัย
ผลการดำเนินงานตลอดโครงการโดยเริ่มการศึกษาสภาพปัญหาเชิงพื้นที่ อัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ความต้องการบรรจุภัณฑ์ สุขภาวะบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ และห่วงโซ่คุณภาพบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจและนำสังเคราะห์ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากการสำรวจพื้นที่ โดยพบว่า ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมทานส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นของแห้ง ซึ่งจะเป็นที่ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดการตากแห้งแดดเดียวและเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมทาน จะมีวัตถุดิบบางส่วนที่นำเข้ามาจากแหล่งอื่น ๆ เนื่องจากผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทะเลมีวัตถุแปรรูปไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลมที่มีการนำวางจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นของของแห้งหลายชนิดด้วยกัน อาทิเช่น ปลาวง ปลาไส้ตัน หอยแมลงภู่ ตากแห้ง กุ้งฝอย กุ้งเนื้อ ปลาช่อนทะเล หมึกแห้ง หอยเสียบ หอยปรุงรส หอยเปียก เป็นต้น ฉะนั้นปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เอื้อต่อการจำหน่าย ซึ่งในแต่ละร้านค้าจะมีบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป อีกประการสำคัญของปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ส่วนมากคือ ลูกค้าไม่พึงพอใจเรื่องกลิ่น ในส่วนของบรรจุภัณฑ์นั้นต้องการให้ปกป้องผลิตภัณฑ์ให้มีการคงสภาพเดิมได้นานและง่ายต่อการขนส่ง โดยในพื้นที่จะมีกลุ่มลูกค้ามารับการจำหน่ายตรงในพื้นที่ กลุ่มลูกค้าส่งตามร้านอาหารทะเลและกลุ่มลูกค้าตามตลาดนัด ซึ่งในเขตอำเภอบ้านแหลมนี้จะมีร้านจำหน่ายของฝากอยู่ประมาณ 8-9 ร้านเท่านั้น ที่เหมือนกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ที่นิยมชื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในอำเภอบ้านแหลม จะประกอบด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ นักท่องเที่ยวประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ได้จากการขายให้กับคนในพื้นที่อีก 10 เปอร์เซ็นต์ และขายในตลาดออนไลน์อีก 10 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของตลาดออนไลน์นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการขายอย่างต่อเนื่องเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ตอบสนองต่อการเลือกชื้อและการขนส่งสินค้า
ผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลสุขภาวะบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ที่ตอบสนองต่อการจำหน่ายทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้ ในการพัฒนานวัตกรรมอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลให้สอดรับกับการจำหน่ายที่หลากหลายรูปแบบและเพิ่มจุดดึงดูดการจำหน่ายที่ดีขึ้นบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่จำหน่ายในตลาดนัดก็จะเป็นกลุ่มคนในพื้นที่ ร้านจำหน่ายของฝากและของที่ระลึก ศูนย์จำหน่ายสินค้าของจังหวัดเพชรบุรี หรือแม้กระทั้งตลาดออนไลน์ ซึ่งในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์มีหลักการออกแบบและประเมินคุณภาพบรรจุภัณฑ์ ด้านการปกป้องผลิตภัณฑ์ ด้านการบรรจุ ด้านการอำนวยความสะดวก ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ด้านความสะอาดและปลอดภัย โดยแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมาประกอบอีกทางหนึ่งโดยคำนึงถึงรูปแบบการผลิต ความสวยงาม การใช้สอยความเข้ากันได้กับเครื่องจักร และใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงทดสอบความพึงพอใจของผู้ประกอบการ คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อบรรจุภัณฑ์ที่ได้พัฒนาแล้วนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อหาประสิทธิภาพของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และนำนวัตกรรมเข้าสู่การใช้งานจริง ซึ่งพบว่า โดยรวมทดสอบความพึงพอใจของผู้ประกอบการ คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ และด้านที่ผู้ประกอบการ คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวมีความ พึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านกราฟิกของบรรจุภัณฑ์ ในรายข้อ สีสันสวยงาม ผลการประเมินตัวอย่างบรรจุภัณฑ์จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลในท้องถิ่นชุมชน พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล เฉลี่ยอยู่ในระดับ มากคือ จากการนวัตกรรมการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ปลาหมึกตากแห้ง บรรจุภัณฑ์ปลาวง บรรจุภัณฑ์หอยลายปรุงรส และบรรจุสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหารกุ้ง ซึ่งสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้านำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เพิ่มทางเลือกชื้อสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน
ทีมนักวิจัย
นางสาววัชราภรณ์ ชัยวรรณ
นักวิจัย
นางสาววัชราภรณ์ ชัยวรรณ
นักวิจัย
โครงการย่อย : การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา
- Phone:02-665-3777 ต่อ 6094
- Email:watcharaporn.c@rmutp.ac.th
นายอัครณิต บรรเทา
นักวิจัย
นายอัครณิต บรรเทา
นักวิจัย
โครงการย่อย : การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา
- Phone:02-665-3777 ต่อ 8178
- Email:akanit.b@rmutp.ac.th
นางสาวเจนจิรา บ.ป.สูงเนิน
นักวิจัย
นางสาวเจนจิรา บ.ป.สูงเนิน
นักวิจัย
โครงการย่อย : การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
หน่วยงาน : สถาบันวิจัยและพัฒนา
- Phone:02-665-3777 ต่อ 6645
- Email:jenjila.b@rmutp.ac.th
ให้คะแนนนวัตกรรมนี้
คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 4.9 / 5. จำนวนการโหวต: 31
No votes so far! Be the first to rate this post.