- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับโครงการ
- ทำเนียบผู้บริหาร
- นวัตกรรมชุมชน
- นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
- นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน
- นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
- นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย
- เตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน
- นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล
- นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
- นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
- นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
- นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
- แบบนวัตกรรมเครื่องจักร
- คลังภาพ
- KM
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 1 สูตรอาหารกุ้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 2 เครื่องผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 3 ระบบผลิตปุ๋ยอินทรี
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 4 เตาเผาขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 5 ทุ่นดักขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 6 บรรจุภัณฑ์
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 7 การตลาด
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 8 โรงอบแห้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 9 การจัดการ
- หลักสูตรพัฒนานักนวัตกร
- คู่มือการใช้งาน
- ติดต่อเรา
- ไทย
หลักสูตรที่ 1 การพัฒนาทักษะพิจารณาคุณภาพของดินและน้ำปลูกข้าวด้วยการใช้เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ |
|
---|---|
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องมือวัดคุณภาพดินและน้ำ 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความหมายของค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัด |
วิธีการอบรมและวัดผล | 1. ใช้การทดลองภาคปฏิบัติ
2. ให้ผู้เข้าอบรมนำเครื่องมือวัดมาทดลองตรวจวัดและอ่านค่า 3. บอกค่าการตรวจวัดและการตีความหมายของผลที่ได้ 4. ผู้ฝึกอบรมแจ้งผลการอ่านและตีความรวมถึงให้ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ | 1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจการทำงานและความสามารถของเครื่องมือวัด 2. ผู้เข้าอบรมสามารถตอบคำถามการทดสอบความรู้/ความเข้าใจ |
ระยะเวลา | 60 นาที |
ส่วนที่ 1 ส่วนประกอบของเครื่องมือวัด
หมายเลข
- จอแสดงผลการวัด โดยวัดได้ดังนี้
1.1 ค่าปริมาณธาตุอาหาร (Fertility)
1.2 ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
1.3 ค่าอุณหภูมิ (Temperature) - ปุ่ม เปิด-ปิด
- หัววัดค่าที่จุ่มลงในดิน
- ปุ่มเลือกตำแหน่งขึ้น-ลง เพื่อเลือกค่าที่ต้องการวัด
ส่วนที่ 2 หลักการทำงานของเครื่องมือวัด
เครื่องมือวัดนี้ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถวัดคุณสมบัติทางเคมีและคุณสมบัติพื้นฐาน โดยใช้งานง่าย ๆ ด้วยการนำหัวจุ่มที่มีลักษณะเป็นแท่งเรียวแหลมจุ่มลงดินที่ต้องการวัด และเลือกอ่านค่าที่ต้องการได้ทันที ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานแบบพกพา
ส่วนที่ 3 ความสามารถของเครื่องมือวัด
เครื่องมือวัดนี้มีความสามารถวัดค่าคุณสมบัติทางเคมีได้ 2 ค่า คือ ปริมาณธาตุอาหาร (Fertility) และค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) รวมไปถึงคุณสมบัติพื้นฐาน คือ ค่าอุณหภูมิ (Temperature) ของดิน เพื่อให้ทราบถึงค่าต่าง ๆ ที่มีต้องการ เครื่องมือวัดนี้มีความสามารถในการวัดค่าคุณสมบัติของดินได้ดังนี้
- วัดปริมาณธาตุอาหาร (Fertility) ประกอบด้วย N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) ซึ่งผลการวัดแสดงเป็นหน่วย PPM (Part Per Million: PPM) ใช้เป็นหน่วยวัดปริมาณของของแข็งที่แขวนลอยหรือละลายอยู่ในน้ำรวมถึงไอออน แร่ธาตุ หรือโลหะละลายต่าง ๆ มีหน่วยเป็น หนึ่งในล้านส่วน
- วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน ซึ่งจะแสดงค่าเป็นตัวเลข และไม่มีหน่วย
- วัดค่าอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งผลการวัดอุณหภูมิจะให้ผลแสดงเป็นหน่วยองศาเซลเซียส 0C
ส่วนที่ 4 วิธีใช้งานเครื่องมือวัด
วิธีการใช้งานทำได้โดย
- เปิดใช้งานด้วยการกดปุ่ม หมายเลข 2 ค้างไว้
- เลือกค่าที่ต้องการวัดโดยกดปุ่มหมายเลข 4
- นำหัวจุ่ม หมายเลข 3 ที่มีลักษณะเป็นแท่งเรียวแหลมจุ่มลงดินที่ต้องการวัด ผลจะแสดงผ่านหน้าจอตามหน่วยและค่าที่ต้องการวัดที่ปรับตั้งมาแล้ว
- ค่าที่วัดได้จะแสดงที่หน้าจอหมายเลข 1
- ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด เช็ด และเก็บไว้ในที่อุณหภูมิไม่เกิน 50 0C
หมายเหตุ เมื่อต้องการวัดค่าต่อเนื่อง ควรล้างหัวจุ่ม หมายเลข 3 ด้วยน้ำสะอาดและเช็ดด้วยผ้าแห้ง จะทำให้ค่าที่วัดได้มีความเที่ยงตรงมากขึ้น
ส่วนที่ 5 การทดลองใช้เครื่องมือวัด
- เตรียมดิน 2 แบบที่ต่างกัน ที่สามารถหาได้
- ทดลองปรับตั้งค่า ปริมาณธาตุอาหาร (Fertility) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และอุณหภูมิ (Temperature)
- ฝึกทดลองวัดกับดินทั้ง 2 แบบ
- ฝึกอ่านค่าที่วัดได้
หลักสูตรที่ 2 การพัฒนาทักษะการพิจารณาความเหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์กับคุณภาพดินน้ำที่ตรวจวัดได้ |
|
---|---|
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. เพื่อให้ผู้อบรมรู้คุณสมบัติของดินและน้ำที่จะใช้ในการปลูกข้าว 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้เกี่ยวกับสูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมกับคุณภาพดินและน้ำ |
วิธีการอบรมและวัดผล | 1. ใช้การทดลองภาคปฏิบัติ
2. ให้ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์คุณสมบัติของดินและน้ำ 3. ผู้ฝึกอบรมให้ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ | 1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องคุณสมบัติของดินและน้ำ 2. ความเข้าใจถึงตัวแปรหรือปัจจัยที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผลผลิต |
ระยะเวลา | 120 นาที |
ดินที่จะใช้ในการปลูกข้าวหรือพืชอื่น ๆ ต่างมีคุณสมบัติทางเคมี ที่สำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณธาตุอาหาร (Fertility) และความเป็นกรด-ด่าง (pH) ดังนั้น ในค่ามาตรฐานของปริมาณธาตุอาหาร (Fertility) และความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่จะใช้นั้นมีความสำคัญมากซึ่งต้องทราบ ซึ่งคุณสมบัติของดินมีดังนี้
ช่วงค่าที่วัดได้
หมายถึง
จำนวนค่า N-P-K (PPM)
0-2 น้อยเกินไป (Too little)
มีปริมาณสารอาหารไม่เพียงพอที่พืชจะนำไปใช้ได้ และอาจแสดงว่าในดินมีจุลินทรีย์ต่ำ
P (ฟอสฟอรัส) น้อยกว่า 4 PPM
K (โพแทสเซียม) น้อยกว่า 50 PPM
3-7 เหมาะสม (Ideal)
มีปริมาณสารอาหารในดินที่เพียงพอ อยู่ในช่วงค่าที่เหมาะสม
P (ฟอสฟอรัส) น้อยกว่า 4 – 14 PPM
K (โพแทสเซียม) น้อยกว่า 50 PPM
8-9 สูงเกินไป (Too much)
มีปริมาณสารอาหารในดินสูงเกินไป ซึ่งอาจหมายถึงปริมาณปุ๋ยเคมีที่มากเกินไป หรือปัญหาจากดินเข็ม อาจทำให้เกิดปัญหารากไหม้ ใบไหม้ และจุลินทรีย์ในดินตายได้
P (ฟอสฟอรัส) น้อยกว่า 4 PPM
K (โพแทสเซียม) น้อยกว่า 50 PPM
ตารางที่ 2 ผลการวัดค่าและวิเคราะห์ผล
ดินแบบที่ | วัดครั้งที่ | น้ำ | ดิน | ||
---|---|---|---|---|---|
ค่ากรด - ด่าง (pH) | ค่ากรด - ด่าง (pH) | ปริมาณธาตุอาหารในดิน (Fertility) | ผลการวิเคราะห์ | ||
1 ตัวอย่าง |
1 | 7 | 8.2 | 6 | 1. น้ำมีค่าเป็นด่าง/เบสอ่อน
2. ดินมีค่าเป็นด่าง/เบสปานกลาง 3. ดินมีปริมาณธาตุอาหารเหมาะสม |
2 | 8 | 7.6 | 7 | ||
เฉลีย | 7.5 | 7.9 | 6.5 | ||
2 | 1 | ||||
1 | |||||
เฉลีย |
หมายเหตุ การวัดค่าจริงในแปลงนาข้าว ควรวัดดิน-น้ำ อย่างน้อย 5 จุด (พื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่)
หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาทักษะในด้านความเข้าใจขั้นตอนและหลักการทำงานของนวัตกรรม |
|
---|---|
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจขั้นตอนการทำงานของนวัตกรรม 2. เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจหลักการทำงานของนวัตกรรม |
วิธีการอบรมและวัดผล | 1. ใช้การทดลองภาคปฏิบัติ
2. ให้ผู้เข้าอบรมอธิบายขั้นตอนและหลักการทำงานของนวัตกรรม 3. ผู้ฝึกอบรมให้ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ | 1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจขั้นตอนการทำงานของนวัตกรรม 2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจหลักการทำงานของนวัตกรรม 3. ผู้เข้าอบรมสามารถตอบคำถามการทดสอบความรู้/ความเข้าใจ |
ระยะเวลา | 360 นาที |
ส่วนที่ 1 หลักการทำงานของนวัตกรรมระบบเครื่องจักรผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ระบบเครื่องจักรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ประกอบด้วยเครื่อง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องบด เครื่องผสม เครื่องปั้นแบบจาน เครื่องคัดขนาดเม็ดปุ๋ย โดยมีหลักการทำงานดังนี้
1.เครื่องบดวัตถุดิบ การทำงานของเครื่องย่อยคืออาศัยการตีเหวี่ยงจากทุนที่อยู่ในห้องย่อยเพื่อทำให้วัตถุดิบหรือดินเกิดความร่วนซุยและคัดนำสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ต้องการออกเช่น เศษหิน และโลหะ ผ่านตะแกรงที่มีความละเอียด ชุดตีบดขับเคลื่อนด้วยแรงจากมอเตอร์ผ่านมู่เล่ย์และสายพานเป็นตัวส่งกำลังงานเพื่อให้วัตถุดิบไหลผ่านตะแกรงพร้อมที่จะเข้าสู่ขบวนการต่อไป
2.เครื่องผสมวัตถุดิบ หลักการทำงานคือการคลุกเคล้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อให้รวมตัวหรือเข้ากันได้โดยอาศัยหลักการกวนผสมผ่านครีบเกลียวที่ออกแบบตามรัศมีโค้งของถังบรรจุ ขับเคลื่อนด้วยแรงจากมอเตอร์ผ่านมู่เล่ย์และสายพานเป็นตัวส่งกำลังงาน ทำให้เกิดการคลุกเคล้าและผสมกันได้ดี เมื่อตรวจเช็คแล้วว่าส่วนผสมเข้ากันดีให้นำวัตถุดิบที่ผสมแล้วออกจากถังที่บริเวณด้านล่างของถังซึ่งจะมีช่องสำหรับนำวัตถุดิบออกเพื่อนำไปปั้นเม็ดต่อไป
3.เครื่องปั้นเม็ดแบบจาน หลักการปั้นเม็ดปุ๋ยด้วยจานจะอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดึงดูดวัตถุที่มีมวลหรือน้ำหนักให้วิ่งเข้าหาศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดเป็นขบวนการปั้นเม็ดปุ๋ยที่ต่อเนื่องจึงใช้วิธีหมุนจานและปล่อยวัตถุลงบนผิวจาน ขณะที่จานกําลังหมุนก็จะกลิ้งบนผิวจานระหว่างนั้นสเปรย์น้ำลงไป จนวัตถุดิบได้ ความชื้น และเริ่มเกาะตัวเป็นเม็ด โดยจานจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 วง วัตถุดิบจะถูกโปรยลงวงในและใช้สเปรย์น้ำในวงใน ดังนั้นการก่อตัวเกิดเม็ดปุ๋ยจะทําขึ้นที่วงด้านใน ส่วนพื้นที่วงนอกจะถูกใช้สำหรับเก็บงานปั้นผิวเม็ดปุ๋ยให้กลมเนียน ปล่อยให้เม็ดปุ๋ยล้นขอบจานด้านล่างและร่วงออกจากจานสู่ภาชนะรองรับ
4.เครื่องคัดขนาดเม็ดปุ๋ย ใช้หลักการการเขย่าในแนวระนาบเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของเม็ดปุ๋ย โดยมีตะแกรงคัดขนาดรองเป็นชั้นที่มีขนาดต่างกันจำนวน 2 ชั้น และมีความลาดเอียงเอียงเพื่อให้เม็ดปุ๋ยไหลผ่านตัวตะแกรงที่มีขนาดตามที่ต้องการ ลงไปยังภาชนะรองรับเพื่อนำไปบรรจุลงถุงต่อไป
ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการใช้งาน
เครื่อง
ภาพประกอบ
ชิ้นส่วน / อุปกรณ์
เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยแบบจาน
2. จานปั้นส่วนนอก สำหรับปั้นเม็ดให้กลม
3. แผ่นเกลี่ยวัตถุดิบเพื่อไม่ให้หมุนไปรอบจานปั้น
4. หัวฉีดน้ำเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของวัตถุดิบและจับตัวกันเป็นก้อน
5. มอเตอร์ต้นกำลัง 220VAC
6. ชุดส่งกำลังผ่านมู่เลย์และสายพาน
7. คันโยกสำหรับการเริ่มส่งกำลังการหมุนของจานปั้น
8. ตู้ไฟควบคุมการทำงาน
9. ชุดปั๊มน้ำและวาล์วควบคุมการเปิด-ปิดของน้ำ
ส่วนที่ 4 การทดลองใช้เครื่องจักร
- เตรียมวัตถุดิบที่หมักแล้วพร้อมทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์
- ฝึกนำวัตถุดิบมาบดละเอียด โดยให้สังเกตความร่วนซุย หากชื้นเกินไปวัตถุดิบจะจับตัวเป็นก้อน
- ฝึกผสมวัตถุดิบตามสัดส่วนที่กำหนด
- ฝึกปั้นเม็ดปุ๋ย โดยกำหนดการตั้งองศาหน้าจานปั้น และปริมาณน้ำที่ฉีด
- ฝึกกำหนดขนาดเม็ดปุ๋ย จากข้อ 4 โดยให้เม็ดปุ๋ยมีขนาดต่างกัน 3 ขนาด (กำหนดเองตามเหมาะสม)
- ฝึกการใช้เครื่องเขย่าคัดขนาด เม็ดปุ๋ย
- ฝึกตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตามค่าที่กำหนด
- บันทึกค่าที่ได้
หลักสูตรที่ 4 การพัฒนาทักษะการใช้งานและบำรุงรักษานวัตกรรม |
|
---|---|
วัตถุประสงค์การพัฒนา | 1. เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจการใช้งานนวัตกรรม 2. เพื่อให้ผู้อบรมเข้าใจการบำรุงรักษานวัตกรรม 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้งานนวัตกรรมอย่างถูกต้อง |
วิธีการอบรมและวัดผล |
1. ใช้การทดลองภาคปฏิบัติ
2. ให้ผู้เข้าอบรมอธิบายขั้นตอนการใช้งานและการบำรุงรักษานวัตกรรม 3. ผู้ฝึกอบรมให้ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจการใช้งานนวัตกรรม
2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจการบำรุงรักษานวัตกรรม 3. ผู้เข้าอบรมสามารถตอบคำถามการทดสอบความรู้/ความเข้าใจ |
ระยะเวลา | 120 นาที |
ส่วนที่ 1 รายละเอียดของข้อควรรู้ ข้อระวังในการใช้งานเครื่องจักรผลิตอาหารสัตว์
1.1 ด้านความปลอดภัย
- เครื่องจักรทั้งหมดใช้ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า และเป็นเครื่องจักรประเภทหมุนในแนวรัศมีและเคลื่อนที่แนวระนาบ ดังนั้น ในขณะเครื่องจักรทำงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องระวังและมีสติ นอกจากนี้ ต้องพึงระวังการหมุนของสายพานส่งกำลังถึงแม้ว่าจะมีอุปกรณ์ป้องกันแล้วก็ตาม มี
- ระวังอย่าให้มีเศษหินหรือสิ่งแปลกปลอมใด ๆ เข้าไปกีดขวางการขับเคลื่อนของต้นกำลัง ซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการกระเด็นและการติดขัด ทั้งนี้ หากเกิดการติดขัดขั้นรุนแรงอาจทำให้เครื่องจักรสะบัดและทำอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้
- การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องมีความแน่ใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ทนค่ากระแสไฟฟ้าของต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าและความร้อนได้เพียงพอ หากอุปกรณ์ไม่สามารถทนกระแสไฟฟ้าได้จะเกิดการช็อตและมีโอกาสที่เกิดไฟไหม้ได้
- หลีกเลี่ยงติดตั้งเครื่องจักรในที่โล่ง ไม่มีโรงเรือนป้องกันแดดและฝน เพราะจะทำให้เครื่องจักรเกิดสนิมและเกิดการชำรุดเสียหาย และอายุการใช้งานลดลง
1.2 ด้านความสะอาด
ภายหลังจากใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว ควรทำความสะอาดเครื่องจักรทุกตัว โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมถึงเครื่องจักรแต่ละประเภท เช่น เครื่องผสมที่มีวัตถุดิบที่มีความชื้น ดังนั้น การทำความสะอาด ควรใช้การเช็ดคราบออก ส่วนเครื่องคัดขนาดเม็ดปุ๋ย สามารถใช้ผ้าเช็ดได้ เนื่องจากวัตถุดิบอยู่ในสภาวะค่อนข้างแห้ง
ส่วนที่ 2 วิธีบำรุงรักษาเครื่องจักร
- หมั่นทำการหล่อลื่นชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว ด้วยจาระบีหรือน้ำมันหล่อลื่น (ยกเว้น สายพาน) เช่น ลูกปืน เพลาขับ เพลาส่งกำลัง และจุดหมุนต่างๆ ที่เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนที่และลดการเกิดสนิมที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ
- ตรวจสอบความตึงสายพานส่งกำลังอยู่เสมอ หากพบรอยแตกร้าวของสายพานให้ทำการเปลี่ยนทันที
- เมื่อไม่ได้ใช้งาน ให้ทำการปิดเบรกเกอร์หลักและปิดสวิตช์ที่เครื่องจักรทุกครั้ง
- อย่าให้เครื่องจักรทำงานเกินภาระกว่าที่เครื่องจะรับได้
- หากเกิดเสียงดังผิดปกติขณะใช้งานให้หยุดการทำงานเครื่องจักรทันทีและตรวจสอบ
- หมั่นตรวจสอบการทำงานอยู่เสมอ
- ควรมีการใช้งานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้ชิ้นส่วนมีการเคลื่อนที่และลดปัญหาการติดขัดลง
ส่วนที่ 3 การฝึกตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร
- ฝึกถอด-ประกอบชิ้นส่วนและการเกิดสนิม
- ฝึกการนำวัตถุดิบที่เหลือออก
- ฝึกตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำมันในชุดทดกำลัง
- ฝึกตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า
- ฝึกบันทึกค่าที่ได้ ตามตารางบันทึกค่าในตารางที่ 1
รายการที่ตรวจสอบ |
ผลการตรวจสอบ (ปกติ ฝ ผิดปกติ) |
วัน / เดือน / ปี |
ผู้ตรวจสอบ |
---|---|---|---|
ชิ้นส่วนเกิดสนิม | |||
วัตถุดิบค้างในเครื่องจักร | |||
การรั่วซึมของน้ำมันในชุดทดกำลัง | |||
อุปกรณ์ไฟฟ้า |
หลักสูตรที่ 5 การพัฒนาทักษะการตรวจสอบความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนวัตกรรม |
|
---|---|
วัตถุประสงค์การพัฒนา | 1. เพื่อให้ผู้อบรมรู้ถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนวัตกรรม 2. เพื่อให้ผู้อบรมรู้ความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการ 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง |
วิธีการอบรมและวัดผล |
1. ใช้การทดลองภาคปฏิบัติ
2. ให้ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ 3. ผู้ฝึกอบรมให้ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1. ผู้เข้าอบรมมีรู้ด้านการกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
2. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ 3. ผู้เข้าอบรมสามารถตอบคำถามการทดสอบความรู้/ความเข้าใจ |
ระยะเวลา | 360 นาที |
ส่วนที่ 1 คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ ปุ๋ยอินทรีย์แบบเม็ด ที่มีขนาดแตกต่างกันตามการใช้งาน ทั้งนี้ สำหรับการปลูกข้าวพันธุ์ กข. 43 โดบเม็ดปุ๋ยที่ใช้กับการปลูก อ้างอิงตาม เกษตรกรและนวักนวัตกรในกลุ่มนาแปลงใหญ่ จังหวัดเพชรบุรี คือ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เมื่อแห้งและพร้อมใช้งานประมาณ 5 มิลลิเมตร ตามรูปที่ 2 (ก) ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องผลิตนั้นต้องมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยที่ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ตามรูปที่ 2 (ก)
รูปที่ 2 ผลิตภัณฑ์เม็ดปุ๋ยที่ต้องการ (ก) เมื่อแห้งพร้อมใช้งาน (ข) ที่ผลิตจากเครื่องจักร
ส่วนที่ 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
1.1 ความละเอียดของวัตถุดิบ ความละเอียดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำให้วัตถุดิบสามารถคลุกเคล้า เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันได้ โดยอาศัยการตีเหวี่ยงจากทุนที่อยู่ในห้องย่อยเพื่อทำให้วัตถุดิบหรือดินเกิดความร่วนซุยและคัดนำสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ต้องการออกเช่น เศษหิน และโลหะ ผ่านตะแกรงที่มีความละเอียด ชุดตีบดขับเคลื่อนด้วยแรงจากมอเตอร์ผ่านมู่เล่ย์และสายพานเป็นตัวส่งกำลังงานเพื่อให้วัตถุดิบไหลผ่านตะแกรงพร้อมที่จะเข้าสู่ขบวนการต่อไป
1.2 ความชื้น ความชื้นของวัตถุดิบต่าง ๆ มีผลต่อการบดให้ละเอียด ในบางครั้งวัตถุดิบที่มีความชื้นมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัตถุดิบจำพวกลำต้นของพืชซึ่งมีโครงสร้างและการยึดเกาะกันค่อนข้างดี หรือในกรณีมีความชื้นน้อยเกินไป (แห้งเกินไป) โดยเฉพาะวัตถุดิบประเภทใบของพืช ดังนั้น หากความชื้นไม่เหมาะสม ให้ทำการตากให้แห้งหรือพรมน้ำเพิ่มความชื้น
1.3 องศาของหน้าจานปั้นวัตถุดิบ การกลิ้งของวัตถุดิบจนรวมตัวกันเป็นเม็ดปุ๋ยทรงกลม มีความเกี่ยวข้องกับมุมของหน้าจานปั้นที่เอียง กล่าวคือ หากจานปั้นมีมุมเอียงมากเกินไปวัตถุดิบจะร่วงหล่นมากกว่าการไหลเรียงตัวกัน ในทางกลับกัน หากมุมเอียงมีน้อยเกินไป เม็ดปุ๋ยจะไม่ไหลเข้าหากันและจะไม่ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
1.4 ปริมาณของวัตถุดิบ หากปริมาณวัตถุดิบมากเกินไป การปั้นตัวของเม็ดปุ๋ยให้ได้ขนาดตามต้องการจะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจาก เมื่อวัตถุดิบมากจะมีการรวมตัวกันมากและขนาดเม็ดปุ๋ยจะใหญ่ ในกรณีที่ปริมาณวัตถุดิบน้อยเกินไป การรวมตัวกันเพื่อเกิดเม็ดปุ๋ยจะมีโอกาสน้อยกว่า ดังนั้น การใส่วัตถุดิบบนจานปั้นต้องทยอยใส่โดยพิจารณาการรวมตัวกันและขนาดเป็นหลัก
1.5 อัตราการไหลของน้ำที่ฉีด คือ ปริมาณน้ำ เช่น ลิตร หรือ ซีซี ที่ไหลออกมาเพื่อใช้ในการปั้นเม็ดปุ๋ยในเวลา 1 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หากอัตราการไหลหรือปริมาณน้ำมากเกินไป วัตถุดิบจะอ่อนนุ่มทำให้ไม่สามารถรวมตัวเป็นก้อนได้ และหากปริมาณน้ำน้อยเกินไปวัตถุดิบจะไม่มีตัวประสานระหว่างกันจึงไม่เกิดการจับตัว
1.6 ความเร็วรอบ เป็นส่วนสำคัญที่มาจากความสัมพันธ์ทุกเครื่องจักร หากความเร็วรอบไม่เหมาะสม อาจบดวัตถุดิบได้ละเอียดพอ ผสมวัตถุดิบไม่ผสานกัน ปั้นและกำหนดขนาดเม็ดปุ๋ยไม่ได้ และคัดแยกเม็ดปุ๋ยไม่ได้
ส่วนที่ 3 การฝึกกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
- ฝึกกำหนดความเร็วรอบ
- ฝึกกำหนดอัตราการไหลของน้ำ
- ฝึกกำหนดองศาของหน้าจานปั้นวัตถุดิบ
- ฝึกกำหนดปริมาณของวัตถุดิบ
- ฝึกตรวจสอบความละเอียดและความชื้นของวัตถุดิบ
- ฝึกบันทึกค่าที่ได้
หลักสูตรที่ 6 การพัฒนาทักษะการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น |
|
---|---|
วัตถุประสงค์การพัฒนา | 1. เพื่อให้ผู้อบรมมีทักษะการนำเสนอและสื่อสารที่เข้าใจง่าย 2. เพื่อให้ผู้อบรมมีความเข้าใจในการตอบข้อซักถาม 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง |
วิธีการอบรมและวัดผล |
1. ใช้การทดลองภาคปฏิบัติ
2. ให้ผู้เข้าอบรมฝึกการนำเสนอ 3. ผู้ฝึกอบรมให้ข้อเสนอแนะ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1. ผู้เข้าอบรมมีทักษะการนำเสนอและสื่อสารที่เข้าใจง่าย
2. ผู้เข้าอบรมมีทักษะการตอบข้อซักถาม 3. ผู้เข้าอบรมสามารถตอบคำถามการทดสอบความรู้/ความเข้าใจ |
ระยะเวลา | 120 นาที |
ส่วนที่ 1 ความหมายของการนำเสนอ การถ่ายทอด และการใช้เหตุผลในการตอบคำถาม
1.1 ความหมายของการนำเสนอ
การนำเสนอ (Presentation) หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ ซึ่งมีการนำเสนอหลายรูปแบบ คือ 1) การนำเสนอข้อมูลเป็นรูปเล่ม หรือรายงานรูปเล่ม 2) การนำเสนอข้อมูลด้วยวาจา หรือการรายงานปากเปล่า 3) การนำเสนอข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยี โดยมีกระบวนการนำเสนอดังนี้
การนำเสนอ (Presenting) เป็นศาสตร์ (วิธีการ) ของการสื่อสาร (Communication) ซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายทอด สาร (message) จากฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสาร (sender) ไปสู่อีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านช่องทานของ สื่อ (channel) (ข้อมูลจาก http://pwwk.ac.th/rainc/2016/05/16/)
1.2 ความหมายของการถ่ายทอด
การถ่ายทอด (Transfer) หมายถึง ขั้นตอนหนึ่งของการจัดการความรู้ (knowledge management) ซึ่งหมายความถึง การแบ่งปันความรู้ภายในองค์การที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ที่มีการสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการสร้างความรู้ แบ่งปันความรู้ และสะสมความรู้ในทุกระดับ (รวบรวมและเรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร. เยาวภา ปิ่นทุพันธ์)
1.3 ความหมายของเหตุผล
เหตุผล หมายถึง การนำหลักฐานหรือสิ่งที่ยืนยันความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นจริง การอ้างเหตุผล คือ การเสนอหลักฐานเพื่อสนับสนุนหรือยืนยันว่าข้อสรุปเป็นจริง การอ้างเหตุผลจะเกิดเมื่อเรามีความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอยากให้คนอื่นเชื่อด้วยเหตุผล เป็นศักยภาพทางความคิดของมนุษย์ทำให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์อื่น เพราะมนุษย์สามารถใช้เหตุผลในการแสวงความจริงหรือความรู้ และคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
ส่วนที่ 2 หลักพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูล การถ่ายทอด และการใช้เหตุผลในการตอบคำถาม
2.1 หลักพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูล (อ้างอิงข้อมูลจาก http://pwwk.ac.th/rainc/2016/05/16/)
- การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบและเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ ให้น่าสนใจ เช่น สีพื้น แบบ สีและขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
- ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย
- ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก ต้องใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่ ต้องเน้นการนำเสนอเรื่องวิชาการหรือธุรกิจและใช้ภาพประกอบที่เหมาะสม
2.2 หลักพื้นฐานของการถ่ายทอด (อ้างอิงจาก การจัดการวัฒนธรรมทางองค์การสำหรับการถ่ายทอดความรู้โดย เยาวภา ปิ่นทุพันธ์)
- เป็นการเติมข้อมูลการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด (Best practices) ในข้อมูลขององค์กร
- เป็นการทำแบบประเมินและตรวจสอบประสบการณ์และข่าวสารความรู้ที่ไม่ถูกต้องของผู้ปฏิบัติ
- เป็นการสอน การติวเข้ม การเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้อื่น การอภิปราย และการพูดคุยอย่างเปิดเผย
- เป็นการให้ข้อแนะและข้อสังเกตอย่างเปิดเผย การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และการให้คำตอบสำหรับปัญหาการปฏิบัติงานแก่ผู้อื่น
- เป็นการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับความเข้าใจในประโยชน์ สถานการณ์ หรือปัญหาที่ซับซ้อน การเขียนลำดับขั้นตอนของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน และหนังสือคู่มือการปฏิบัติงานในระหว่างที่กำลังทำงานในกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงงาน
- เป็นการใช้ฐานข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ในการทำกิจกรรมหรือภารกิจต่าง ๆ
2.3 หลักพื้นฐานของเหตุผลในการตอบคำถาม
- ใช้หลักฐานหรือสิ่งที่ยืนยันความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นจริง
- เมื่อจะทำอะไรก็ตามเราต้องคิดก่อนว่าเราควรทำหรือไม่ เพราะเหตุใด นี่คือการถามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดและการกระทำของตัวเอง
- การใช้เหตุผล (reasoning) เป็นกระบวนการทางความคิดที่พยายามแสดงว่าข้อสรุปควรเป็นที่ยอมรับเพราะมี เหตุผลหรือหลักฐานมาสนับสนุน
- สามารถอธิบายเหตุผลนี้ให้คนอื่นเข้าใจและยอมรับด้วย เมื่อได้ฟังเรื่องราวบางอย่างเราอาจไม่เชื่อทั้งหมด ในการเลือกว่าเรื่องใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ
- ต้องใช้เหตุผลในการพิจารณาการตัดสิน
ส่วนที่ 3 การฝึกนำเสนอข้อมูล การถ่ายทอด และการใช้เหตุผลในการตอบคำถาม
- ฝึกให้นำเสนอหลักการทำงาน การบำรุงรักษา และการปรับเปลี่ยนตัวแปรการผลิตของเครื่องจักร
- ฝึกการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ ด้วยการใช้งานเครื่องจักร
- ฝึกการ ถาม และ ตอบคำถามด้วยวาจาพร้อมให้เหตุผล
- ฝึกการอธิบาย การใช้เครื่องมือวัด การตรวจสอบวัตถุดิบก่อนการผลิต
ให้คะแนนนวัตกรรมนี้
คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนการโหวต: 1
No votes so far! Be the first to rate this post.