- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับโครงการ
- ทำเนียบผู้บริหาร
- นวัตกรรมชุมชน
- นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
- นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน
- นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
- นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย
- เตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน
- นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล
- นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
- นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
- นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
- นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
- แบบนวัตกรรมเครื่องจักร
- คลังภาพ
- KM
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 1 สูตรอาหารกุ้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 2 เครื่องผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 3 ระบบผลิตปุ๋ยอินทรี
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 4 เตาเผาขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 5 ทุ่นดักขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 6 บรรจุภัณฑ์
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 7 การตลาด
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 8 โรงอบแห้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 9 การจัดการ
- หลักสูตรพัฒนานักนวัตกร
- คู่มือการใช้งาน
- ติดต่อเรา
- ไทย
หลักสูตรที่ 1 การออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน |
|
---|---|
คำอธิบายหลักสูตร | ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ปฏิบัติการออกแบบและสร้างชิ้นงานบรรจุภัณฑ์ การตกแต่งชิ้นงานสำเร็จ |
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 3. ออกแบบและสร้างชิ้นงานบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ชนิดต่าง ๆ |
วิธีการพัฒนา | 1. สอนอธิบายพื้นฐานหลักการการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
2. ปฏิบัติการออกแบบและสร้างชิ้นงานบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ชนิดต่าง ๆ |
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ | 1. เข้าใจหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 2. ความเข้าใจการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ |
วิธีวัดผล | 1. ลงมือปฏิบัติภายใต้การดูแลของนักวิจัย
2. ตอบคำถามตามแบบทดสอบ (ตารางที่ 3.7) |
ระยะเวลา | 120 นาที |
เครื่องมือ อุปกรณ์ | 1. กระดาษอัดขนาด 10 มม.
2. สกรู ½ นิ้ว 3. เครื่องยิงแม็คอัดลม 4. จิ๊กซอว์ 5. กาวลาเท็กซ์ 6. ดินสอดำ 7. น้ำยาเคลือบเงา 8. ไม้บรรทัด 9. สีน้ำพลาสติก 10. พู่กัน 11. จานสี |
ส่วนที่ 1 เนื้อหาสาระ
หน่วยที่ | ชื่อหน่วย-หัวข้อการฝึกอบรม |
---|---|
1 | หลักการการออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
1. รูปแบบของผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 2. ประโยชน์ใช้สอยและความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน |
2 | วัสดุอุปกรณ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์การออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 2. การเลือกไม้สำหรับสร้างชิ้นงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน |
3 | ออกแบบและสร้างชิ้นงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
1. การกำหนดขนาดและรูปร่าง รูปทรงผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 2. การประกอบแบบและการเก็บรายละเอียดผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน 3. การตกแต่งสีและเคลือบผิวผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน |
4 | การคิดราคาขาย
1. การคิดคำนวณต้นทุน |
ส่วนที่ 2 หลักการการออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
การถ่ายทอดจินตนาการซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ของสิ่งที่ต้องการออกมาเป็นรูปแบบที่พัฒนา จากสิ่งเก่าเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมาให้สอดคล้องกับวัสดุการผลิตและประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการ (สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์, 2549, หน้า 21) ซึ่งในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตามจุดมุ่งหมายของผู้ออกแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันออกไป โดยการออกแบบที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ใช้สอย และเป็นการออกแบบที่มีจุดมุ่งที่เด่นชัดเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ การออกแบบที่มีจุดมุ่งหมายทางด้านเรขศิลป์เป็นศิลปะแห่งความงามแก่ผู้ชม การออกแบบจึงคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการตอบสนองทางด้านความงามในตัวผลงานนั้น ๆ ด้วย และการออกแบบที่มีจุดมุ่งหมายที่นำเอาอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน มาออกแบบที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับสินค้าและสร้างความแตกต่างสู่อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ให้มีความแตกต่างจากชุมชนอื่นและมีลักษณะองค์รวมในแบบของชุมชนต่อยอดภูมิปัญญาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พื้นฐานที่เห็นคุณค่าทางด้านความงามและประโยชน์ใช้สอยที่มีเอกลักษณ์ของชุมชน ผู้ออกแบบจึงต้องพัฒนาแนวคิดกับการเลือกใช้รูปทรงของสิ่งต่าง ๆ มาเป็นสิ่งดลใจ แนวความคิดในการออกแบบต้องมีความสอดคล้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการออกแบบ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวความคิดเกิดจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แนวความคิดจากรูปทรงธรรมชาติ เรขศิลป์ รูปทรงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นและจากรูปทรงอิสระ ผู้ออกแบบได้ความคิดความประทับใจจากรูปทรงต่าง ๆ เหล่านั้น มาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบดัดแปลงให้เกิดรูปแบบใหม่ และการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่นสร้างเป็นเรขศิลป์และพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเลทำให้ผลิตภัณฑ์สวยงามมีความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยที่ดีและต้องเหมาะสมกับกระบวนการผลิต
อัตลักษณ์วิถีชีวิตชุมชน
เป็นการแสดงออกที่มีรูปลักษณ์ ความมีอุดมการณ์ ความภาคภูมิใจ และความเป็นเอกภาพของชุมชน ทั้งค่านิยมที่ปรากฏอยู่รอบ ๆ ชุมชน ซึ่งเมื่อกล่าวโดยรากศัพท์ของคำว่า “อัตลักษณ์” มาจากภาษาละติน คือ Identitas เดิมซ้ำคำว่า Iden ซึ่งมีความหมายว่า “เหมือนกัน” (The same) แต่โดยพื้นฐานภาษาอังกฤษ อัตลักษณ์มีความหมายว่า “เหมือนกัน” และความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างออกไป เป็นการตีความหมายเหมือนกันบนพื้นฐานความสัมพันธ์และการเปรียบเทียบกันระหว่างคนกับปรากฏการณ์รอบตัว เป็นการให้คำนิยามว่า “ตัวเราคือใคร” และเป็นเรื่องของการค้นหา ยืนยัน ท้าทาย หรือตรวจสอบความเป็นตัวตนทั่วไประดับปัจเจกและระดับสังคม การมองในแง่มุมต่าง ๆ ในฐานะสมาชิกในสังคม วิริยา วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์ (2548) ดังเช่น
1) อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (Ethnic identity) หมายถึงกลุ่มคนที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคมด้วยคุณลักษณ์ที่มีเกณฑ์ทางศาสนา ภาษา เชื้อชาติ ชุมชน ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
2) อัตลักษณ์ร่วม (Collective Identity) คือ กลุ่มคนหนึ่ง ๆ จะมีอัตลักษณ์ร่วมกัน โดยอัตลักษณ์
ร่วมกันที่จะเป็นอะไรก็ได้ เช่น อาชีพ ภาษา ศาสนา ประเพณีที่เป็นของกลุ่มตัวเอง
อัตลักษณ์ (Identity) หรือ มีความสำคัญมาก เพราะด้านหนึ่ง “ความเป็นปัจเจก” ที่เชื่อมต่อและสัมพันธ์กับสังคม (Social Aspect) สังคมกำหนดบทบาทหน้าที่และระบบ คุณค่าที่ติดมากับความเป็นพ่อ ความเป็นเพื่อน ความเป็นสามี-ภรรยา ความเป็นศิษย์ อาจารย์ ในมิตินี้ อัตลักษณ์จึงเป็นเรื่องของการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Aspect) เพราะการแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์กระทำผ่านระบบสัญลักษณ์หลายแบบ อีกมิติหนึ่งเกี่ยวข้องกับ “ภายใน” ของความเป็นเราอย่างมากทั้งในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด อภิญญา เฟื่องฟูสกุล (2546)
กล่าวโดยสรุป ผู้วิจัยได้นำแนวคิดอัตลักษณ์ชุมชน เป็นการบ่งบอกถึงบทบาทหน้าที่ที่มีความเกี่ยวพัน กับโครงสร้างหน้าที่ ทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม โดยมีพัฒนาการที่สัมพันธ์กับอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม และเป็นที่ยอมรับของสังคม กลุ่มคน แม้แต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน แต่ละกลุ่มก็ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐาน ของความเหมือนกันของกลุ่มมาเป็นแนวทางในการศึกษาถึงความเป็นลักษณะเฉพาะชุมชน สามารถมอง ในทุกมิติของชุมชนและสังคม เพื่อรองรับสถานะ “ความเป็นของแต่ละกลุ่ม แต่ละสังคมให้เห็นเก่นชัดมากยิ่งขึ้น” สอดคล้องกับคำพูดของ ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อ้างใน สุกัญญา สุดบรรทัด และคณะ (2546) ได้ให้ความเห็นวาทกรรมว่า “สุดยอดของอำนาจและการครอบงำอยู่ที่การสร้างตัวตน” ซึ่งหมายถึงการทำให้มนุษย์กลายเป็นตัวตนใหม่ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามเทคนิควิทยาการในการสร้างตัวตนให้กับมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย
อัตลักษณ์วิถีชีวิตชุมชนกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
ปากทะเลเป็นชื่อหมู่บ้านและตำบลชายทะเลในเขตอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่าปากทะเลเพราะในสมัยก่อนมีลำคลองขนาดใหญ่ผ่านมาจากทางทิศตะวันตกแล้วไหลลงสู่ทะเลในบริเวณนี้ ปากคลองที่เชื่อมกับทะเลมีขนาดใหญ่เป็นสิบวากว้างพอที่เรือประมงและเรือสินค้าขนาดเล็กจะเข้ามาจอดหลบ พายุได้เป็นจำนวนมากทำให้บ้านปากทะเลเป็นย่านของคนทำประมงและแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างคนท้องถิ่นกับพ่อค้าจากถิ่นอื่น เช่น เมืองชายทะเลในภาคตะวันออกจีนมลายู เป็นต้น คลองปากทะเลนั้นไหลมาจากทางทิศตะวันตกอันเป็นที่ตั้งของเมืองเพชรบุรี สมัยที่การคมนาคมทางบกยังไม่เจริญคลองปากทะเลเป็นทางเดินเรือสำคัญอีกเส้นหนึ่งที่นักเดินทาง คนทั่วไปและพ่อค้ากลุ่มต่างๆใช้เป็นทางผ่านในการเข้าออกเมืองเพชรบุรีนอกเหนือไปจากเส้นทางแม่น้ำเพชรบุรีที่บ้านแหลมและบางตะบูน ในหนังสือตำนานเมืองเพชรของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) กล่าวถึงทางน้ำสายนี้ไว้ในหมวดของแม่น้ำตะวันตกมีความตอนหนึ่งว่าแม่น้ำตะวันตกสายเขาแลงเขาปากช่องทางบ้านห้วยข้องอีกสายหนึ่งผ่านลงมาทางหนองหัวลีระหารใหญ่ ไปบ้านท่าช้างออกทางวัดโพกรุ ไปวัดท่าช้าง บ้านหนอง วัดวังบัว ไปคูบันไดอิฐ รวมกับสายลาดโพ แยกมาคูบันไดอิฐ บ้านดอนโพไปวัดคงคาราม ออกบ้านหม้อ ไปท่าช้าง โด่งไปตะวันออกทางวัดพระรูป ไปบางจาน ลงลาดทะเล ซึ่งปรากฏเป็นปากทะเลในภายหลังนี้ ข้อมูลอีกอย่างที่แสดงให้เห็นว่าปากทะเลเป็นปากทางสำคัญในการเดินทางเข้าสู่เพชรบุรี ก็คือ ด่าน ปากทะเล ป้าล้วน ลาภเกิด ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบ้านปากทะเลแก่ผู้วิจัยเป็นจำนวนมาก ท่านเป็นหลานสาวของหมื่น เปรมประชา ผู้ใหญ่บ้านปากทะเลสมัยรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 สมัยเป็นเด็กป้าล้วนเข้าเรียนที่โรงเรียนปากทะเล ซึ่งใช้ ด่านเป็นอาคารเรียน ท่านเล่าว่า เกิดมาก็เห็นมีด่านอยู่ แต่เขาเลิกใช้กันไปแล้ว ด่านนี้เป็นที่เก็บภาษีและตรวจตรา ผู้คนที่เข้าออกในคลองปากทะเล ตัวด่านปลูกเป็นหอสูงขึ้นไปบริเวณริมคลองปากทะเลใกล้กับวัดในปากทะเล ชั้นล่าง กั้นเป็นห้องเรียน ชั้นบนเป็นที่เก็บหุ่นของหลวงพ่อปลอดอดีตเจ้าอาวาสวัดในปากทะเล ต่อมาพอสร้างอาคารเรียนหลังใหม่จึงได้รื้อด่านออก หุ่นที่เก็บไว้ก็กระจัดกระจายเป็นอันสูญไป นานเข้าคนก็ลืม
ข้อมูลจำเพาะ
- เอกลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์สามารถบอกได้ว่าวัตถุดิบเหล่านี้เกิดขึ้นจากธรรมชาติ
- นอกจากจะหอยเสียบกับหอยลายและยังมีหอยแครงที่เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ แต่ทั้งนี้แล้วหอยแครงจะไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปส่วนของหอยแต่ละชนิดจะเกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน หอยเสียบจะเกิดขึ้นช่วงเดือนเมษายน ส่วนหอยแครงอบเกลือจะประมาณเดือนสิงหาคม แม้ในส่วนของหอยอะไรก็จะเกิดเป็นบางช่วงบางปีแต่เนื่องจากปีนี้เกิดขึ้นเยอะ อาจเกิดมาจากการปรับปรุงของธรรมชาติรวมจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หากสามารถเก็บบันทึกข้อมูลสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมของการเกิดหอยลายได้
ส่วนที่ 3 คำแนะนำวิธีการใช้งานบรรจุภัณฑ์
- วิธีเก็บรักษาแบบ “ปิดปากถุงให้สนิทและเก็บไว้ในตู้เย็น สินค้าจะเก็บได้นานขึ้นหากเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง”
- ที่อยู่ผู้ผลิต ระบุใน คิวอาร์โค้ด (QR Code)
- ไม่ควรกระแทกหรือโยน อาจทำให้แตกหรือชำรุดได้
- เก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด ควรอยู่ในอุณหภูมิ -10 องศา ถึง 45 องศา
- ควรเก็บให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ผลิตภัณฑ์อาจเกิดการละลายและผิดรูป หรืออาจทำให้เป็นเชื้อเพลิงได้
- หลีกเลี่ยงที่มีแดดจัดหรือเก็บไว้กลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจจะทำให้การเสื่อมสภาพ ดังนั้นไม่ควรเก็บไว้ในที่มีแดดจัดขนาดและน้ำหนักอาจแตกต่างจากแสดงค่าการวัดที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและการขึ้นรูป
ส่วนที่ 4 คุณสมบัติวัสดุบรรจุภัณฑ์
- วัสดุบรรจุภัณฑ์ถุงกระดาษคราฟท์หน้าใส ตั้งได้
- ขนาด 16 x 24 เซนติเมตร
- กันน้ำได้
- มาตฐาน food grade เหมาะกับ ใส่ขนม ใส่อาหาร
- เคลือบกันน้ำ
- ถุงซิปล็อคคราฟท์
ส่วนที่ 5 คุณสมบัติสติกเกอร์ ฉลากสินค้า โลโก้
- สติ๊กเกอร์เนื้อพีพีมีชนิดขาวเงา และขาวด้าน
- พิมพ์ระบบดิจิตอลออฟเซ็ทเช่นเดียวกับสติ๊กเกอร์ชนิดกระดาษ
- สามารถกันน้ำได้ และเหนียวฉีกขาดยาก เหมาะเป็นงานฉลากสินค้า หรือสติ๊กเกอร์โลโก้ที่ใช้ติดชั่วคราวบนวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีความเสี่ยที่จะต้องโดนน้ำ
- ขนาดสติ๊กเกอร์ กว้างxสูง 9 x 18 เซนติเมตร
- ความห่างของการไดคัทรอบนอกขอบรูป 2 ซ.ม.
- สติ๊กเกอร์และหมึกกันน้ำ
ส่วนที่ 6 การวิเคราะห์ต้นทุน
ตัวอย่างการคำนวนต้นทุนในการบรรจุภัณฑ์ปลาหมึกแห้ง จำนวน 300 แพ็ค
รายละเอียด | จำนวนเงิน | จำนวนสินค้า | เฉลี่ย ต้นทุน / ชิ้น |
---|---|---|---|
1. ถุงกระดาษเคลือบใส | 750 บาท | 300 ถุง | 2.50 |
2. ถาดใส่ปลาหมึก | 450 บาท | 300 อัน | 2.50 |
3. สติ๊กเกอร์ 1 แผ่น | 1,200 บาท | 300 ดวง | 4.00 |
4. ค่าแรงงานบรรจุ 3 คน | 900 บาท | 300 แพ็ค | 3.00 |
5. ต้นทุนสินค้าทั้งหมด | 3,300.00 | ||
6. ต้นทุนสินค้าต่อ 1 ชิ้น | 11.00 |
หลักสูตรที่ 2 การเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล |
|
---|---|
คำอธิบายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ |
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อตัวสินค้า การเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ถึงการเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง |
วิธีการพัฒนา | 1. การบรรยาย – สาธิต – ประสบการณ์
2. เน้นให้มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมออกมา 3. ระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์– เกมส์สอดแทรก – การแสดงบทบาทสมมติ |
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ | 1. ความเข้าใจในต้นทุนการเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
2. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงๆ |
วิธีวัดผล | 1. ตอบคำถามตามแบบทดสอบ
2. ทดลองออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง |
ระยะเวลา | 120 นาที |
เครื่องมือ อุปกรณ์ | 1. กระดาษอัดขนาด 10 มม.
2. สกรู ½ นิ้ว 3. เครื่องยิงแม็คอัดลม 4. จิ๊กซอว์ 5. กาวลาเท็กซ์ 6. ดินสอดำ 7. น้ำยาเคลือบเงา 8. ไม้บรรทัด 9. สีน้ำพลาสติก 10. พู่กัน 11. จานสี |
ส่วนที่ 1 หลักการและแนวความคิด
บรรจุภัณฑ์ถือเป็นปราการด่านแรกที่ผู้บริโภคจะมองเห็น เมื่อผู้บริโภคเห็นบรรจุภัณฑ์แล้วเกิดความ ประทับใจ สะดุดตาในทุกองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ ก็สามารถที่จะโน้มน้าวใจใหผู้บริโภคเกิดความสนใจและต้องการที่จะรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ของตัวสินค้านั้น ๆ ให้มากขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอีกทางหนึ่งที่ผู้ผลิตจะสามารถสร้างบรรจุภัณฑ์ให้ เป็นที่ดึงดูดตาดึงดูดใจ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ อยากเข้ามาหยิบบรรจุภัณฑ์พิจารณารูปลักณ์และรายละเอียดของตัวสินค้า รวมไปด้วยจนทำใหผู้บริโภคเกิดความประทับใจในตัวสินค้านั้นโดยไม่รู้ตัว (First Impression) ดังนั้น เราจึงต้องเรียนรู้ความสำคัญของการทำบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตลาดที่มีผบู้ริโภคเป็นผู้เลือกบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าและองค์กร ช่วยเพิ่มยอดขาย ผู้บริโภคเองก็อยากเก็บบรรจุภัณฑ์ของสินค้าในไว้ในภาพลักษณ์ที่สวยงาม เป็นการโฆษณาสินค้าในระยะยาวเพราะเมื่อผู้บริโภคหยิบบรรจุภัณฑ์นั้นขึ้นมาเมื่อใด ก็จะเห็นได้ว่าสินค้านั้นเป็น เเบรนด์อะไร สร้าง การจดจำแบรนด์ให้กับผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัว ผู้ที่สนใจทั่วไปจะได้เรียนรู้จุดสำคัญ ๆ ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกมา เหมาะสมกับตัวสินค้าและยังเป็นการโฆษณาสร้างแบรนด์ให้กับตัวสินค้าและองค์กรในระยะยาว สร้างแบรนด์สินค้าให้น่าจดจำด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณค่า
ส่วนที่ 2 เนื้อหาหลักสูตร
เนื้อหาหลักสูตรเรียนรู้ การตลาดในยุคปัจจุบันบรรจุภัณฑ์มีผลอย่างไรต่อตัวสินค้า ภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์มีผลอย่างไรต่อองค์กร มูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นได้ด้วยบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่สร้างจุดเด่นสะดุดตาให้กับตัวสินค้า เรียนรู้ความหมายของ อย. และ จีเอ็มพี Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ จินตนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับตัวสินค้า แต่ละกลุ่มให้คะแนนและแสดงข้อคิดเห็นวิทยากรชี้จุดที่ควรปรับปรุง วิทยกรให้ผลลัพธ์ ที่ได้ Workshop หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ รูปทรงของตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ภายใน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ภายนอก ฉลาก ข้อความ ตัวอักษรรูปภาพประกอบ การใช้กับจิตวิทยาต่อผบู้ริโภค วัสดุของบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละวัย บรรจุภัณฑ์ที่ผู้โภคสามารถเก็บไวใช้งานต่อได้ ระบบการผลิตบรรจุภัณฑ์ ระบบการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ การติดต่อว่าจ้างออกแบบ/พิมพ์บรรจุภัณฑ์ การเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ วงจรแผนการตลาดสู่กลยุทธบรรจุภัณฑ์ การติดตาม การปรับปรุงการตอบจากผู้บริโภค กรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงของวิทยากร Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับตัว แต่ละกลุ่มให้คะแนนและแสดงข้อคิดเห็น วิทยากรชี้จุดที่ควรปรับปรุง วิทยากรให้ผลลัพธ์ที่ Workshop สรุปเนื้อหาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์จากผู้เข้ารับการอบรม ข้อคิดฝากให้กับผู้เข้ารับการอบรม เพื่อนำกลับไปฝึกปฏิบัติให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น
ให้คะแนนนวัตกรรมนี้
คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนการโหวต: 0
No votes so far! Be the first to rate this post.