- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับโครงการ
- ทำเนียบผู้บริหาร
- นวัตกรรมชุมชน
- นวัตกรรมอาหารเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3 สูตรอาหาร)
- นวัตกรรมเครื่องอัดรีดร้อนสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมเครื่องปั้นเมล็ดปุ๋ยแบบจานหมุน
- นวัตกรรมเครื่องผสมปุ๋ยแบบประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน
- นวัตกรรมเครื่องย่อยวัตถุดิบแบบประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมเครื่องร่อนคัดขนาดเม็ดปุ๋ย
- เตาเผาขยะไร้มลพิษระดับครัวเรือนและชุมชน
- นวัตกรรมทุ่นดักขยะรีไซเคิล
- นวัตกรรมเครื่องยกทุ่นดักขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับปุ๋ยอินทรีย์
- นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล
- นวัตกรรมรูปแบบการตลาดแบบมีส่วนร่วมสำหรับอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทางทะเล
- นวัตกรรมการออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางทะเลสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนบนพื้นที่ที่จำกัด
- นวัตกรรมคู่มือการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
- แบบนวัตกรรมเครื่องจักร
- คลังภาพ
- KM
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 1 สูตรอาหารกุ้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 2 เครื่องผลิตอาหารสัตว์น้ำ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 3 ระบบผลิตปุ๋ยอินทรี
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 4 เตาเผาขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 5 ทุ่นดักขยะ
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 6 บรรจุภัณฑ์
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 7 การตลาด
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 8 โรงอบแห้ง
- ชุมชนนวัตกรรม โครงการย่อยที่ 9 การจัดการ
- หลักสูตรพัฒนานักนวัตกร
- คู่มือการใช้งาน
- ติดต่อเรา
- ไทย
หลักสูตรที่ 1 ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัด และการแปลผลจากเครื่องมือวัด |
|
---|---|
คำอธิบายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. เพื่อเข้าใจถึง พื้นฐานการอบแห้งือวัดเรียนรู้ 2. เพื่อเข้าใจ กรตากวัตถุดิบ และเการจัดเรียนงวัตถุดิบก่อนการอบ |
วิธีการพัฒนา | 1. สอนอธิบายพื้นฐานการอบแห้ง 2. แสดงให้เห็นการตากวัตถุดิบ และการจัดเรียงวัตถุดิบก่อนการอบ |
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ | 1. เข้าใจถึง พื้นฐานการอบแห้ง 2. เข้าใจ กรตากวัตถุดิบ และเการจัดเรียนงวัตถุดิบก่อนการอบ |
วิธีวัดผล | 1. สอบถามความเข้าใจพื้นฐานการอบแห้ง และการตากวัตถุดิบ 2. ปฏิบัติการตากวัตถุดิบ และการจัดเรียนงวัตถุดิบก่อนการอบ |
ระยะเวลา | 120 นาที |
เครื่องมือ อุปกรณ์ | 1. คู่มือการใช้งานวัด
2. วัตถุดิบ ตะแกรง ตาก |
กิจกรรมที่ 1 หลักการพื้นฐานของการอบแห้ง
การอบแห้งเป็นกระบวนการที่ความร้อนถูกถ่ายเทด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งไปยังวัสดุที่มีความชื้น เพื่อไล่ความชื้นออกจากวัสดุโดยการระเหย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอบแห้งมักขึ้นกับกลไกการถ่ายเทความร้อน เช่น การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการพาความร้อน ซึ่งการถ่ายเทความร้อนจากอากาศไปยังวัสดุจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับการถ่ายเทมวล (ความชื้น) จากวัสดุไปยังอากาศโดยรอบ ความร้อนที่ได้รับจากอากาศส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการทำให้น้ำระเหยออกจากวัสดุ ซึ่งอัตราการระเหยของน้ำหรืออัตราการอบแห้งของวัสดุจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วของอากาศที่ใช้เป็นตัวกลางในการอบแห้ง โดยทั่วไปแล้วอัตราการอบแห้งจะคงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นอัตราการอบแห้งจะลดลง และมีค่าเป็นศูนย์เมื่อความชื้นถึงสภาวะสมดุล ในกรณีที่อากาศร้อนไหลผ่านวัสดุชื้น อากาศร้อนจะทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนไปยังวัสดุและพาน้ำ(ความชื้น) ที่ผิววัสดุออกไป ถ้าอากาศร้อนมีอุณหภูมิ และความชื้นคงที่ จะพบว่ามีกระบวนการอบแห้งเกิดขึ้นสองขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรก อัตราการอบแห้งจะคงที่ และเมื่ออบต่อไปจนกระทั่งถึงความชื้นค่าหนึ่ง จะพบว่าอัตราการอบแห้งจะเริ่มลดลง ในช่วงอัตราการอบแห้งคงที่ ผิวของวัสดุจะมีน้ำเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก การถ่ายเทความร้อน และมวลจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ผิววัสดุเท่านั้น สำหรับในช่วงอัตราการอบแห้งลดลง อัตราการอบแห้งจะถูกควบคุมโดยอัตราการเคลื่อนที่ของน้ำภายในเนื้อวัสดุ ซึ่งได้มีผู้นำหลักการทางทฤษฎี หลายทฤษฎีมาอธิบายการเคลื่อนที่ของน้ำในวัสดุที่มีโครงสร้างภายในเป็นรูพรุนในช่วงอัตราการอบแห้งลดลง ได้เสนอกลไกการเคลื่อนที่ของน้ำภายในวัสดุซึ่งเกิดขึ้นในแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- การเคลื่อนที่ของน้ำในรูปของเหลว เนื่องมาจากการไหลในรูเล็ก (เป็นผล มาจากแรงดึงผิว
- การเคลื่อนที่ของน้ำในรูปของเหลว เนื่องจากความแตกต่างของความเข้มข้น ของความชื้น
- การเคลื่อนที่ของน้ำในรูปของเหลว เนื่องจากการแพร่ของความชื้นบนผิวของรูพรุนเล็กๆ
- การเคลื่อนที่ของน้ำในรูปของไอ เนื่องจากความแตกต่างของความเข้มข้นของความชื้น
- การเคลื่อนที่ของน้ำในรูปไอน้ำ เนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิ
- การเคลื่อนที่ของน้ำในรูปของเหลว และไอน้ำ เนื่องจากความแตกต่างของความดันรวม
กิจกรรมที่ 2 หลักการทำงานของระบบอบแห้งแบบเรือนกระจก
เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบระบบอบแห้งจะส่งผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนตไปยังผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในชั้นวาง บางส่วนจะตกกระทบพื้นของระบบอบแห้ง ทำให้ภายในระบบอบแห้งมีอุณหภูมิ สูงขึ้น และแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา แต่เนื่องจากรังสีอินฟราเรดเป็นรังสีคลื่นยาว ซึ่งส่วนมากไม่ สามารถผ่านแผ่น โพลีคาร์บอเนตออกไปภายนอกได้จึงเก็บกักอยู่ภายในระบบอบแห้ง อุณหภูมิ ภายในส่วนอบแห้งจึงสูงขึ้น ทำให้น้ำในผลิตภัณฑ์ระเหยออกมา และถูกพัดลมดูดอากาศด้านหลัง ของระบบอบแห้งดูดออกไปภายนอก อากาศแวดล้อมจะไหลผ่านช่องระบายอากาศด้านหน้าเข้ามาแทนที่ ความชื้นของผลิตภัณฑ์จึงค่อย ๆ ลคลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ได้รับพลังงานทั้งจากรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบโดยตรง และจากอากาศร้อนภายในส่วนอบแห้ง ดังนั้นจึงทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดโดยวิธีธรรมชาติ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ภายในระบบอบแห้งยังไม่ถูกรบกวนจากสิ่งสกปรกและการเปียกฝนด้วย
กิจกรรมที่ 3 การตากวัตถุดิบ และการจัดเรียงวัตถุดิบก่อนการอบ
การเตรียม วัตถุดิบก่อนตาก
1.นำหมึกได้มาผ่าบริเวณลำตัวและส่วนหัว เพื่อเอาไส้และขี้ออก ขณะผ่าต้องระวังอย่าให้ขี้ของหมึกแตก (ลักษณะสีดำ) เพราะจะทำให้หมึกสีไม่สวย
2.นำปลาหมึกที่ผ่าแล้วมาล้างด้วยน้ำทะเลให้สะอาด
การวางวัตถุดิบในตะแกรงและนำเข้าโรงเรือนหรือเครื่องอบ
- วางวัตถุดิบให้มีปริมาณหรือน้ำหนักใกล้เคียงกัน โดยมีการกระจายตัวของวัตถุดิบมีใกล้เคียงกันและไม่ซ้อนกันเพื่อให้ความร้อนกระจายเข้าสู่วัตถุดิบได้ดี
- รอให้สะเด็ดน้ำ 1-2 ชั่วโมง
- นำตะแกรงเข้าโรงเรือนอบแห้งหรือเครื่องอบแห้ง
การวางวัตถุดิบและการจัดเรียงก่อนการอบ
การนำตะแกรงเข้าโรงเรือนและเครื่องอบแห้ง
หลักสูตรที่ 2 พื้นฐานการใช้งานนวัตกรรม |
|
---|---|
คำอธิบายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. เพื่อเข้าใจการใช้งานของนวัตกรรม 2. เพื่อต้องกให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของนวัตกรรม |
วิธีการพัฒนา |
1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของนวัตกรรม 2. สาธิตการใช้งาน |
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ |
1. เข้าใจระบบการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้ 2. ปฏิบัติงานได้ |
วิธีวัดผล |
1. ลงมือปฏิบัติภายใต้การดูแลของนักวิจัย 2. ตอบคำถามได้ตามแบบทดสอบ |
ระยะเวลา | 120 นาที |
เครื่องมือ อุปกรณ์ | 1. คู่มือการใช้งาน 2. โรงเรือนหรือเครื่องอบ |
กิจกรรมที่ 2 โรงเรือนอบแห้ง
หลักสูตรที่ 3 ทักษะการกำหนดความชื้นจากอุปกรณ์กำหนดความชื้น การใช้งานแหล่งพลังงานความร้อนร่วม(ทักษะการกำหนดความอุณหภูมิจากอุปกรณ์กำหนดอุณหภูมิ) และ การใช้และการอ่านเครื่องมือวัดผล |
|
---|---|
คำอธิบายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 1. เพื่อเข้าใจการทำงานของการกำหนดความชื้น และอุณหถูมิ 2. เพื่อเข้าใจการอ่านค่าอุณหภูมิและความเชื้น |
วิธีการพัฒนา |
1. สาธิตการใช้งานเครื่องควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ
2. สาธิตการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้น |
เกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ |
1. ความเข้าใจของการกำหนดความชื้น และอุณหถูมิ
2. เพื่อเข้าใจการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้น |
วิธีวัดผล |
1. ลงมือปฏิบัติภายใต้การดูแลของนักวิจัย 2. ตอบคำถามตามแบบทดสอบ (ตารางที่ 3.7) |
ระยะเวลา | 90 นาที |
เครื่องมือ อุปกรณ์ |
1. คู่มือการใช้งานม 2. โรงเรือนหรือเครื่องอบ |
กิจกรรมที่ 1 การกำหนดความชื้นจากอุปกรณ์กำหนดความชื้น
ขั้นตอนการตั้งค่า ความชื้น
- กดปุ่ม ค้างไว้ 3 วินาที เพื่อตั้งค่าความชื้นเริ่มต้น จนค่าความชื้นกระพริบ และสามารถกด เพื่อเพิ่มค่า หรือกด เพื่อลดค่าเมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ เครื่องดำเนินการบันทึกข้อมูล
- กดปุ่ม ค้างไว้ 3 วินาที เพื่อตั้งค่าความชื้นหยุด จนค่าความชื้นกระพริบ และสามารถกด เพื่อเพิ่มค่า หรือกด เพื่อลดค่า เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ เครื่องดำเนินการบันทึกข้อมูล
อธิบายเพิ่มเติม สำหรับการตั้งอุณหภูมิของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อควบคุมพัดลมระบายความชื้น ให้ตั้งค่าความชื้นเริ่มต้น มากกว่าความชื้นหยุด ตัวอย่าง หากตั้งค่าความชื้นเริ่มต้น 45 % RH และความขื้นหยุด 35 % RH อธิบายการทำงานดังนี้ เมื่อเปิดเครื่อง พัดลมระบายความชื้นจะเริ่มทำงานเมื่อความชื้น 45 % RH และหยุดทำงานเมื่อความชื้น35 % RH
กิจกรรมที่ 2 ทักษะการกำหนดค่าอุณหภูมิจากอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ
ขั้นตอนการตั้งค่า อุณหภูมิ
1. กดปุ่ม ค้างไว้ 3 วินาที เพื่อตั้งค่าอุณหภูมิเริ่มต้น จนค่าอุณหภมิกระพริบ และสามารถกด เพื่อเพิ่มค่า หรือกด เพื่อลดค่า เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ เครื่องดำเนินการบันทึกข้อมูล
2. กดปุ่ม ค้างไว้ 3 วินาที เพื่อตั้งค่าอุณหภูมิหยุด จนค่าอุณหภมิกระพริบ และสามารถกด เพื่อเพิ่มค่า หรือกด เพื่อลดค่า เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ เครื่องดำเนินการบันทึกข้อมูล
อธิบายเพิ่มเติม สำหรับการตั้งอุณหภูมิของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อควบคุมฮีตเตอร์ ให้ตั้งค่าอุณหภูมิเริ่มต้น น้อยกว่าอุณหภูมิหยุด ตัวอย่าง หากตั้งค่าอุณหภูมิเริ่มต้น 45 oC และอุณหภูมิหยุด 50 oC อธิบาย การทำงานดังนี้ เมื่อเปิดเครื่อง ฮีตเตอร์จะทำงานไปเรื่อย ๆ จนถึงอุณหภูมิ 50 oC จะตัดการทำงาน และค่าอุณหภูมิลดลง ถึง 45 oC ฮีตเตอร์ทำงานอีกครั้ง
กิจกรรมที่ 3 การใช้และการอ่านเครื่องมือวัดผล
- อักษรสีแดงแสดงถึงค่าอุณหถูมิ
- อักษรสีน้ำเงินแสดงถึงค่าความชื้น
- การอ่านค่า อุณหภูมิ และ ความชื้น มีความสำคัญ เพื่อเข้าในระบการอบแห้ง เพื่อสามารถปรับค่าต่าง ๆ ในการควบคุมพัดลมได้
สำหรับเครื่องอบแห้ง
การอ่านค่าอุณหภูมิ
โยก สวิตช์แบบก้านยาว (Toggle Switch) ด้านซ้าย ขึ้นตำแหน่ง ON เพื่อดูอุณหภูมิภายในตู้อบบนจอLED
[ ตำแหน่ง OFF เพื่อ ปิด ]การอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้น
- อักษรสีแดงแสดงถึงค่าอุณหภูมิ
- อักษรสีน้ำเงินแสดงถึงค่าความชื้น
- การอ่านค่า อุณหภูมิ และ ความชื้น มีความสำคัญ เพื่อเข้าในระบการอบแห้ง เพื่อสามารถปรับค่าต่าง ๆ ในการควบคุมฮีตเตอร์ ได้
การอ่านค่าการใช้กำลังไฟฟ้า
- การค่าและจดค่าหน่วยกำลังไฟฟ้า ก่อนการอบแห้ง โดยมีขีดสีขาว โดยอ่านค่าระดับสายตา
- การค่าและจดค่าหน่วยกำลังไฟฟ้า หลังการอบแห้ง โดยมีขีดสีขาว โดยอ่านค่าระดับสายตา
- นำค่าหลังมาลบกับค่าก่อน จะได้ค่าหน่วยกำลังไฟฟ้า ในการอบแต่ละครั้ง
กิจกรรมที่ 1 รายการอุปกรณ์ทางไฟฟ้า
ลำดับ
รายการ (ข้อมูลทางเทคนิค)
ลำดับ
ภาพ
3
เบรกเกอร์กระแสตรง ขนาดพิกัด 16A 500VDC
2 ตัว
4
อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (Surge Protective Device) ขนาดพิกัด 1000VDC 40 kA
1 ตัว
5
เบรกเกอร์กระแสสลับ ขนาดพิกัด 16A 250VAC
2 ตัว
8
สวิตช์ ON – OFF 2 ตำแหน่ง 4 Pins Light
3 ตัว (3 สี)
9
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature and Humidity control)
2 ตัว
10
พัดลมระบายอากาศ 10 นิ้ว
12VDC 48 W
6 ตัว
11
พัดลมเพดาน 48 นิ้ว 220VAC 65 W
3 ตัว
12
สวิตซ์ 3 ช่อง
1 ชุด
13
หลอดไฟ LED 9W T8 พร้อม Cover
3 ชุด
กิจกรรมที่ 1 รายการอุปกรณ์ทางไฟฟ้า
สำหรับเครื่องอบแห้ง
ข้อมูลของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและแผนผังวงจรไดอะแกรมและการต่อวงจรไฟฟ้า
คุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ลำดับ
รายการ (ข้อมูลทางเทคนิค)
ลำดับ
ภาพ
1
แผงโซล่าเซลล์ ขนาด 10 W
2 แผง
3
พัดลมระบายอากาศ 12VDC 0.30A
2 ตัว
4
เบรกเกอร์กระแสสลับ ขนาดพิกัด 30 A 250VAC
4 ตัว
5
เบรกเกอร์กระแสสลับ ขนาดพิกัด 30 A 250VAC
1 ตัว
6
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature and Humidity control)
1 ตัว
7
อุปกรณ์แปลงแรงดัน (Switching Power Supply) 220VAC to 12VDC 5A
1 ตัว
8
พัดลมกระจายอากาศ 220 VDC 48 W
2 ตัว
9
Magnetic contactor S-N10
ขนาด 20 A
2 ตัว
10
เครื่องทำความร้อน heater 1,400 W
4 ตัว
กิจกรรมที่ 2 วิธีการดูแลรักษาโรงเรือนพาราโบลาโดมและขัอควรระวังในการใช้เครื่องสำหรับโรงเรือนอบแห้ง
วิธีการดูแลรักษาโรงเรือนพาราโบลาโดม
– ทําความสะอาดแผ่นโพลีคาร์บอเนตอยู่เสมอโดยการฉีดพ่นนํ้า ถ้าหากมีฝุ่นมาเกาะที่แผ่นโพลีคาร์บอเนต จะทำให้พลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่โรงเรือนได้น้อยลง
– หมั่นตรวจเช็คการทํางานของพัดลมระบายอากาศอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้เกิดการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
– ควรเช็ดทําความสะอาดแผ่นโซลาร์เซลล์ ถ้าหากมีฝุ่นมาเกาะโซลาร์เซลล์จะส่งผลต่อการจ่ายพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีผลการการชาร์จแบตเตอรี่และพัดลมสำหรับการระบายอากาศชื้นออกจากโรงเรือน
– ควรรักษาความสะอาดภายในระบบโรงเรือนโดยการล้างด้วยนํ้าสะอาด เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อรา และจุลินทรีย์ โดยระวังระบบทางไฟฟ้า
ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง
– ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าและระบบสายดิน ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
– ห้ามเปิดสวิตช์ ON – OFF 2 ⑮ ตำแหน่ง สีเขียว ( ระบบใช้พลังงานไฟฟ้าจาก แผงโซล่าเซลล์โดยตรง )สวิตช์
ON – OFF 2 ⑯ ตำแหน่ง สีส้ม ( ระบบใช้พลังงานไฟฟ้าจาก แบตเตอรี่ ) และ สวิตช์ ON – OFF 2 ⑰ ตำแหน่ง
สีแดง ( ระบบใช้พลังงานไฟฟ้าจาก ไฟฟ้า 220 VAC ) พร้อมกัน เพราะทำให้กระแสสูงเกินไปทำให้พัดลมระบายความร้อนเสียหายได้
– ห้ามเปิดประตูโรงเรือนอบแห้ง ทิ้งไว้ขณะมีพายุฝนหรือลมแรงจะทำให้เกิดความเสียหายได้
สำหรับเครื่องอบแห้ง
วิธีการดูแลรักษาเครื่องอบแห้งพาราโบลาโดมและข้อควรระวัง
– ทําความสะอาดแผ่นโพลีคาร์บอเนตอยู่เสมอโดยการฉีดพ่นนํ้า ถ้าหากมีฝุ่นมาเกาะที่แผ่นโพลีคาร์บอเนต
– หมั่นตรวจเช็คการทํางานของพัดลมระบายอากาศและพัดลมกระจายความร้อนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้เกิดการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
-ควรเช็ดทําความสะอาดแผ่นโซลาร์เซลล์ ถ้าหากมีฝุ่นมาเกาะโซลาร์เซลล์จะส่งผลต่อการจ่ายพลังงานไฟฟ้า
– ควรรักษาความสะอาดภายในระบบโรงเรือนโดยการเช็ดด้วยนํ้า เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราและจุลินทรีย์ โดยระวังระบบทางไฟฟ้า
– เนื่องจากระบบการใช้กระแสสูงสุด 25 A ไม่ควรปลั๊กเสียบ แบบธรรมดาให้ใช้แบบปลั๊กกำลัง ( powerplug ) เท่านั้น ตามที่คณะวิจัยดำเนินการจัดทำไว้แล้ว ไม่ควรดัดแปลง
ให้คะแนนนวัตกรรมนี้
คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน
คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. จำนวนการโหวต: 0
No votes so far! Be the first to rate this post.